การขายฝาก : สัญญาซื้อขายอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ซื้อจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อ แต่อยู่ภายใต้ข้อตกลงว่าผู้ขายสามารถไถ่ทรัพย์สิน/ ซื้อทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามที่กำหนดในสัญญา* หรือกฎหมาย**
“การขายฝาก” ที่ผู้ซื้อและผู้ขายควรทราบถ้าขายฝากสังหาฯ ธรรมดา จะต้อง…
- ทำหลักฐานเป็นหนังสือ
- ชำระหนี้บางส่วน
- ส่งมอบของให้กัน
*ถ้าไม่ทำ ไม่มีผลให้สัญญาไม่สมบูรณ์ แต่จะนำฟ้องร้องต่อกันไม่ได้
ถ้าขายฝากสังหาฯพิเศษหรืออสังหาฯ กม.กำหนด ให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน “ขายฝาก” ต่อเจ้าพนักงานด้วย สัญญาจึงจะสมบูรณ์ ถ้าไม่ทำ….จะมีผลให้สัญญาขายฝากนั้นเป็นโมฆะ
ในกรณีไม่ได้กำหนดระยะเวลาการไถ่คืน ต้องไม่เกินระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
1. อสังหาริมทรัพย์ – ไถ่คืนภายในระยะเวลา 10 ปีนับแต่เวลาซื้อขาย
2. สังหาริมทรัพย์ – ไถ่คืนภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่เวลาซื้อขาย
การทำสัญญาขายฝาก
1. หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. หากเป็นสังหาริมทรัพย์ราคา 20,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดชอบ
*สัญญาขายฝาก จะตกลงไม่ให้ผู้ซื้อขายทรัพย์สินที่ขายฝากก็ได้ หากผู้ซื้อฝ่าฝืน จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ขาย
ใครสามารถไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนได้
1. คนขายเดิม หรือทายาทของคนขายเดิม
2. ผู้รับโอนสิทธิในการไถ่คืน
3. บุคคลที่ตามสัญญากำหนดให้เป็นผู้ไถ่ได้