กฎหมายน่ารู้ 51: สินเชื่อในระบบ จ่ายครบ-จบง่าย-ไม่ผิดกฎหมายแหล่งเงินในยุคนี้ มีทั้งที่เป็นเงินกู้ในระบบ และเงินกู้นอกระบบ มีหลายสถาบันทางการเงิน องค์กรเอกชนหลายเจ้าที่เปิดให้กู้เงินทั้งในและนอกระบบ อีกทั้งยังมีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้ากันให้เกลื่อนไปหมด เรียกได้ว่า มีตัวเลือกทางการเงินมาให้เยอะมากมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายรองรับ และมีความเสี่ยงสูง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 : การกู้ยืมเงิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องบังคับคดีกันได้
สำหรับวันนี้เราขอนำความรู้เกี่ยวกับ
• สินเชื่อในระบบ
• วิธีการลดภาระหนี้
• หน่วยงานที่ให้คำปรึกษา/ขอความช่วยเหลือเรื่องหนี้
“สินเชื่อในระบบ” คืออะไร?เป็นสินเชื่อที่ให้บริการโดยสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร โดยจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกฎหมายและหน่วยงานภาครัฐหรือธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังควบคุมดอกเบี้ย เราสามารถขอสินเชื่อในระบบได้ 6 ช่องทางคือ
1.ธนาคารออมสิน จะให้สินเชื่อกับลูกค้ารายย่อยใช้จ่ายฉุกเฉินในครอบครัว
2.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและคนในครัวเรือน
3.กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกร การกู้ยืมเงินเพื่อปลดหนี้หรือซื้อคืนที่ดินจากการขายฝาก จำนอง กู้เงิน 4.สถาบันบริหารจัดการที่ดิน แหล่งทุนภาครัฐช่วยเกษตรกรไถ่ถอนที่ดิน
5.ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค/ประกอบอาชีพ/เช่น pico finance
6.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินทุนในหมู่บ้านทดแทนสินเชื่อจากแหล่งอื่น
ซึ่งผู้กู้และผู้ให้กู้ จะได้รับความคุ้มครองเสมอกัน โดยผู้ให้กู้จะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ผู้กู้หนีหรือเบี้ยวไม่จ่ายเงิน ผู้ให้กู้มีสิทธิดำเนินการฟ้องร้องผู้กู้ เพื่อให้ผู้กู้ใช้หนี้ หรือนำทรัพย์สินของผู้กู้ออกขายทอดตลาดได้โดยชอบธรรม
ที่มา: 1.คู่มือแนวทางไกลเกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบ / 2.บทความเปรียบเทียบหนี้เงินกู้นอกระบบ vs ในระบบ