ค้นหา

Q&A : ร่างทรง หลอกลวงเอาเงินค่าครู ค่าวัตถุมงคล ค่าพิธีกรรมต่างๆ ผิดหรือไม่?

ความศรัทธา ความเชื่อ หรือ เรื่องหลอกลวง ต้องดูเจตนาของร่างทรงว่ามีเจตนาหลอกเอาเงินหรือไม่?

พิจารณาจากสถาการณ์ว่ามีผู้ได้รับความเสียหายหรือไม่ เช่น เสียเงิน เสียทองหรือไม่? หากไม่มี…ก็ไม่มีความผิด ความผิดจะต้องเข้าองค์ประกอบ คือ หลอกลวง เสียทรัพย์

องค์ประกอบในการกระทำความผิดตามกฎหมาย มาตรา 341
1) โดยทุจริต (เจตนา)
2) หลอกลวงผู้อื่น
3) ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความที่จริงที่ควรบอก
4) ได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงหรือของบุคคลที่สาม

คำว่า “หลอกลวง” ในทางกฎหมายจะเป็นการหลอกลวงโดยเอาข้อเท็จจริงในอดีตหรือปัจจุบันมาหลอกลวงเท่านั้น ไม่สามารถเอาอนาคตชาติมาหลอกลวงได้ เช่น การบริจาคเพื่อให้ได้ไปสวรรค์หรือพระนิพานหรือบรรลุโสดาบัน จึงไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แนวตัดสินศาลสูงก็ออกมาลักษณะนี้กันส่วนมาก

ร่างทรงผิดกฎหมายหรือไม่ ?

  1. ถ้าร่างทรงไม่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ แต่ไปโกหกประชาชนว่าเชื่อไสยศาสตร์ และหลอกเอาเงินเอาทอง มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน : อ้างอิงฎีกาที่ 219/2531
  2. ถ้าร่างทรงเชื่อไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อส่วนตัว เป็นสิทธิส่วนบุคคลถึงแม้จะมีคนมาหลงเชื่อก็ไม่เป็นฉ้อโกงประชาชน อ้างอิงฎีกาที่ 1042/2535
  3. ร่างทรงอ้างตัวเป็นแพทย์ รักษาคนทั้งที่มิใช่แพทย์ มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน อ้างอิงฎีกาที่ 2593/2521
  4. ร่างทรงรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ตัวเองกล่าวอ้างเป็นความเท็จ เช่น อ้างว่ามีน้ำพุศักดิ์สิทธิ์แต่สุดท้ายถูกจับได้ว่าเกิดจากการกระทำของตัวเอง มิได้เกิดจากเจ้าแม่บันดาล จนมีคนหลงเชื่อ ผิดฐานฉ้อโกงประชาชน อ้างอิงฎีกาที่ 557/2502

ฟังเสียง กฎหมายง่ายจัง ตอนร่างทรงท้ายซอย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ความผิดฐานฉ้อโกง