หากคอยนานๆ หมด…อายุความ รู้ไหมเอ่ย?
อายุความตามกฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือ ระยะเวลาสำหรับการฟ้องคดีและอายุความสำหรับการนำตัวผู้กระทำความผิดอาญามาลงโทษ โดยขึ้นอยู่กับอัตราโทษของแต่ละฐานความผิด
.
ทำไมต้องมีอายุความด้วยล่ะ ถ้าเป็นแบบนี้ทำผิดก็สบายไม่ต้องรับโทษ….ซึ่งทางอาญาหากทำผิดแล้วสามารถหลบหนีไป จนหมดอายุความ เมื่อถูกฟ้องและมีประเด็นอายุความของคดีเข้ามาเกี่ยวข้อง ศาลก็ไม่สามารถที่จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีได้
.
เชื่อว่าหลายๆคนที่ติดตามข่าวคดีสำคัญที่หมดอายุความจนไม่สามารถลงโทษนำผู้ทำความผิดมาลงโทษได้ และคดีที่เกิด ในที่นี้จะไม่ขอเอ่ยถึงและพาดพิงเรื่องราวใดๆ นะครับ
.
อายุความการฟ้องคดีอาญาและการนับระยะเวลา “วันเริ่มนับอายุความ” “วันที่เริ่มนับอายุความ(ใหม่)” รวมถึงผลของการไม่ฟ้องคดีหรือนำตัวผู้กระทำความผิดมาศาลภายในกำหนดอายุความ
.
หากเราตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาแล้วอย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะการปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยนานไปก็อาจมีผลเสียในด้านกระบวนวิธีพิจารณาคดีการพิสูจน์พยานหลักฐานและการลงโทษผู้กระทําความผิดได้ ยิ่งระยะเวลาเนิ่นนานออกไปมากเท่าไร ความทรงจําของพยานตลอดจนการหาพยานหลักฐานย่อมสูญหายหรือเลือนไปได้ในที่สุด
.
มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
(1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี
(2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี
(3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี
(4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า1 เดือน ถึง 1 ปี
(5) 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
.
มาตรา 96 ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
.
ในเบื้องต้นนี้ที่ได้นำเสนอไปนั้นเป็นเพียงฐานความผิดส่วนหนึ่งที่ได้หยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างประกอบเท่านนั้น หากต้องการทราบอายุความในแต่ละฐานความผิดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ประมวลกฎหมายอาญา