ค้นหา

ออเจ้า…ต้องรู้ ก่อนเข้าประตูวิวาห์

ใครหมั้นได้บ้าง?

(1) 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

(2) ถ้าผู้เยาว์จะหมั้น ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรม ดังนี้

1. บิดาและมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ 

2. บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีอำนาจปกครอง 

3. ผู้รับบุตรบุญธรรม 

4. ผู้ปกครอง 

*ถ้าไม่ได้รับความยินยอม จะทำให้การหมั้นเป็นโมฆียะ
ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะบอกเลิก/รับรองให้สมบูรณ์ได้

ของหมั้น

(1) “ทรัพย์สิน” หรือ “สิ่งใด” ก็ได้ที่ฝ่ายชายส่งมอบให้แก่หญิงที่จะเป็นคู่หมั้น เพื่อเป็นหลักฐานว่าชายจะสมรสกับหญิงในอนาคต 

(2) ของหมั้นจะตกเป็นสิทธิของหญิงคู่หมั้น

การสิ้นสุดของสัญญาหมั้น

(1) สองฝ่ายสมัครใจเลิกสัญญาหมั้น ก่อนสมรส 

(2) คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ก่อนสมรส

(3) คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้น  ก่อนสมรส

ความรับผิดชอบเมื่อผิดสัญญาหมั้น

(1) ถ้าหญิงผิดสัญญาหมั้น : ชายคู่หมั้นมีสิทธิ

   1. บอกเลิกสัญญาหมั้น 

   2. เรียกของหมั้นคืน

(2) ถ้าชายผิดสัญญาหมั้น : หญิงคู่หมั้นมีสิทธิ

   1. บอกเลิกสัญญาหมั้น และไม่ต้องคืนของหมั้น

และฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญายังสามารถ “เรียกค่าทดแทน” ได้อีกด้วย

1. ค่าความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง

2. ค่าความเสียหายที่บิดามารดา ได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้
จากการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร

3. ค่าความเสียหายที่ได้จัดการทรัพย์สินหรืออาชีพการงาน
เพราะคาดหมายว่าจะได้สมรส

การสมรส (แต่งงาน)

1) 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

(2) ถ้าผู้เยาว์จะสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรม

(3) ถ้ามีเหตุสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนได้ เช่น ตั้งครรภ์)

สินสอด :

(1) “ทรัพย์สิน” หรือ “สินสอด” ที่ฝ่ายชายส่งมอบให้แก่ผู้แทนโดยชอบธรรมของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการตอบแทน
ที่หญิงยอมสมรสด้วย 

(2)สินสอดจะตกเป็นสิทธิของผู้แทนโดยชอบธรรมของฝ่ายหญิง

(3) ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาหลังการสมรส ให้สามีและภริยา เป็นเจ้าของร่วมกัน

การสมรสจะเป็น “โมฆะ” เมื่อ

        – คู่สมรสเป็นผู้วิกลจริต

        – ลูกสมรสกับพ่อ/แม่บุญธรรม

        – พี่/น้องร่วมบิดามาราสมรสกัน

        – มีคู่สมรสแล้ว (สมรสซ้อน)

การสิ้นสุดการสมรส : 

1. ศาลเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะ เช่น 

   1.1 การสมรสที่ชายหรือหญิงอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์

   1.2 การสมรสของผู้เยาว์ที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (บิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง) 

   1.3 การสมรสที่เกิดจากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดในตัวคู่สมรส

   1.4 การสมรสที่เกิดจากการถูกข่มขู่ 

   1.5 การสมรสที่เกิดจากกลฉ้อฉล 

2. การหย่า

   2.1 การหย่าด้วยความยินยอม และจดทะเบียนหย่า

   2.2 การหย่าด้วยคำพิพากษาศาล  

3. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย

ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์