การฟื้นฟูกิจการ
ลูกหนี้ : ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งประกอบธุรกิจที่มีลักษณะวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมที่ขึ้นทะเบียน
เกณฑ์การพัฒนาคำร้องของเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
- การที่ลูกหนี้ไม่อยู่ในสถานะที่จะชำระหนี้ได้
- รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการ และมีจำนวนหนี้แน่นอนรวมทั้งรายชื่ออละที่อยู่ของเจ้าหนี้
- เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
- ต้องแนบแผนการฟื้นฟู พร้อมหลักฐานแสดงว่าเจ้าหนี้ได้ให้ความเห็นชอบในแผนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนหนี้ทั้งหมด
ผู้มีสิทธิขอให้ศาลมีการฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน
- ลูกหนี้ที่ไม่อยู่ในสถานะที่ชำระหนี้ได้และเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการโดยที่
– ลูกหนี้ที่เป้นบุคคลธรรม ต้องมีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
– ลูกหนี้ที่เป็นคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือนิติบุคคลที่กำหนดในกระทรวง ต้องมีหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
– ลูกหนี้ที่เป็น บริษัท จำกัด ต้องมีจำนวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท
2. เจ้าหนี้ในหนี้ ตามข้อ1
ถ้ามีเหตุต่อไปนี้ให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ไม่อยู่ในสถานะที่จะชำระหนี้ได้
- ลูกหนี้มีทรัพย์ ไม่พอกับหนี้สิน
- ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อได้รับหนังสือทวงถามเจ้าหน้าที่ให้ชำระหนี้และยังไม่ชำระหนี้ภายใน 30 วัน
- เจ้าหนี้ร้องขอบังคับคดีแก่ลูกหนี้ แล้วไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้
- ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งและมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ผิดนัดหรืออาจผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้รายอื่น
- ลูกหนี้มีกระแสเงินสดไม่พอชำระหนี้
แผนฟื้นฟู ต้องประกอบด้วย
- เหตุผลที่ทำให้มีการฟื้นฟูกิจการ
- รายละเอียดแห่งทรัพย์สิน หนี้สิน และมีภาระผูกพัน ของลูกหนี้ในขณะที่ยื่นคำรอง
- หลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการ
- การไถ่ถอนหลักประกัน ในกรณีเจ้าหนี้มีประกัน และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
- แนวทางแก้ปัญหาในกรณีขาดสภาพคล่องชั่วคราวระหว่างการปฏิบัติตามแผน
- วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องหรือโอนหนี้
- ชื่อ คุณสมบัติ หนังสือยินยอมของผู้บริหาร และค่าตอบแทน
- การแต่งตั้งและการพ้นตำแหน่งของผู้บริหารแผน
- ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกิน 3 ปี
- การไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญา ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควร กว่าประโยชน์ที่จะพึงได้
ที่มา : พระราชบัญญัติลักษณะล้มละลายแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2474