ค้นหา

กระบวนการยุติธรรมในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

กระบวนการยุติธรรมในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล จากการประชุมวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรมครั้งที่ 18 ในหัวข้อ มิติใหม่กระทรวงยุติธรรมในยุค New Normal โดย วิทยากรทั้ง 5 ท่านได้แก่ 1. นายธาม  เชื้อสถาปนศิริ  อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล 2. นายธัชกรณ์ วชิรมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซอร์ทิส จำกัด 3. ดร.ปริญญา หอมเอนก บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด  4. ดร.สุพจน์  เธียรวุฒิ  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  5. พ.ต.ท.ดร.พงษ์ธร  ธัญญสิริ  ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม

ได้พูดถึงรูปแบบของกระบวนการยุติธรรมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ ต้องเป็นความยุติธรรมที่รวดเร็ว รอบคอบ รัดกุม ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส ประหยัด มีประสิทธิภาพ แต่ต้องไม่หลงลืมหลักคิดของความยุติธรรม คือ การเข้าถึงความจริง และการค้นหาความจริง  ซึ่งการนำ “AI” และ “Big Data  มาใช้ สามารถเสริมประสิทธิภาพการทำงานด้านกระบวนการยุติธรรมในอนาคต อาทิ การจัดเก็บข้อมูลพยานหลักฐานของคดีความในรูปแบบดิจิทัล   การตรวจสอบเอกสารคดีความประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และไฟล์เสียง ซึ่งการนำ AI มาใช้มีขั้นตอนที่สำคัญ

ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาหลักของกระบวนการยุติธรรม 

ขั้นตอนที่ 2 ประเมินข้อมูลและระบบภายในองค์กรที่มีอยู่ 

ขั้นตอนที่ 3 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และเริ่มทดลองใช้งาน 

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Big Data และการใช้ AI ซึ่งมีปัญหาที่จะต้องดำเนินการ  คือ 

1 ภัยคุกคามไซเบอร์ทางเทคนิคในระดับประเทศ อาทิ การโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐาน การจารกรรมข้อมูลไซเบอร์/การล้วงข้อมูลส่วนบุคคล 

2 ปรากฏการณ์ “Social Media as a new source of soft power” ซึ่งเป็นอิทธิพลจาก Social Media ต่อสังคม และการสูญเสียอธิปไตยทางไซเบอร์ 

 ทั้งนี้ ภาครัฐต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานโดยใช้หลัก 5 R ประกอบด้วย 

1) Resolve การจัดการกับปัญหาโดยกำหนดความเสี่ยงและเป้าหมายในการดำเนินการ  

2) Resilience เป็นการปรับตัวให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน ให้รองรับกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

3) Return คือ การกอบกู้สถานการณ์ให้กลับมาที่สถานะเดิมก่อนเกิดภาวะวิกฤต 

4) Reimage คือ การกลับมาพิจารณาถึงกลไกของการดำเนินการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาวะวิกฤต หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 

5) Reform คือ การปรับตัวเข้ากับโลกใหม่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในรูปแบบการทำงานใหม่ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการประชาชนให้เพิ่มสูงขึ้น 

ในส่วนของสำนักงานกิจการยุติธรรม  ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ มีแนวทางการดำเนินงานใน 3 ประเด็น ดังนี้  

1) การพัฒนาศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม หรือ Data Exchange Center (DXC) ให้เป็นศูนย์กลาง Web Service ที่มีระบบประมวลผล ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบสำรองข้อมูลอย่างเพียงพอเหมาะสม ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานในลักษณะ Single Report และพร้อมพัฒนาไปสู่ NSWJ 

2) การพัฒนาฐานข้อมูลกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ๑) สถิติอาชญากรรมที่เป็นทางการ (White Paper) ๒) สถิติอาชญากรรมที่เก็บจากเหยื่ออาชญากรรม (Victim Survey) ๓) สถิติอาชญากรรมที่เก็บจากผู้กระทำความผิด (Self Report on Crime) 

3) พัฒนาการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรม (Crime trend) และแผนที่อาชญากรรม (Crime Mapping) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานในการกำหนดนโยบายการป้องกันอาชญากรรม และการเตือนภัยภาคประชาชนผ่านศูนย์พยากรณ์สถานการณ์อาชญากรรมแห่งชาติ (ศอช.)  หรือ The National Center for Crime Analytics and Forecasting (NCF)

รับชมวิดีโอการสัมนาฉบับเต็มได้ที่นี่