ค้นหา

ปลดล็อค…กระท่อม…จากยาเสพติดให้โทษ

พืชกระท่อม หรือ Mitragyna speciosa เป็นพืชเฉพาะถิ่นในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย โดยคนมาเลเซียและคนไทยนิยมนำใบกระท่อมมาใช้เนื่องจากมีฤทธิ์ในการกระตุ้นคล้ายคลึงกับฝิ่นและโคคา ช่วยในการบรรเทาความเหนื่อยล้าและเพิ่มความอดทนต่อการทำงานหนักกลางแดด

นอกจากนี้ ยังมีการใช้พืชกระท่อมเป็นยาพื้นบ้านในการรักษาโรคทั่วไป ได้แก่ อาการไอท้องร่วงปวดกล้ามเนื้อความดันโลหิตสูง และเพื่อบำบัดรักษาผู้ติดเฮโรอีนจากอาการถอนยา

อย่างไรก็ตามการใช้พืชกระท่อมอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ตามมา เช่น เบื่ออาหาร ปากแห้ง ปัสสาวะมาก และท้องผูก สำหรับอาการถอน จะพบในผู้ที่ใช้ใบกระท่อมเป็นเวลานาน เช่น มีท่าทีที่ไม่เป็นมิตร มีอาการก้าวร้าว ปวดกล้ามเนื้อ และกระดูก แขนขากระตุกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด และ นอนไม่หลับ

พืชกระท่อม เป็นหนึ่งในพืชเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษของประเทศไทย พ.ศ. 2522 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ได้ทำการสำรวจขนาดของประชากรผู้ใช้สารเสพติดในภาคใต้ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2559 พบว่า พืชกระท่อมเป็นสารเสพติดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด รองลงมา คือ ใบกระท่อมต้ม และ กัญชา ตามลำดับ สำหรับทางภาคใต้ พืชกระท่อมถูกมองว่า…ไม่ใช่พืชที่ผิดกฎหมาย…และถูกใช้ในวิถีประจำวันของคนภาคใต้มาเป็นเวลานาน วิธีการใช้ มักเคี้ยวใบกระท่อมสดที่รูดเอาก้านใบออกต้ม หรือ ชงด้วยน้ำร้อนและดื่มเป็นชา (ผศ.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์. วารสารสำนักงาน ปปส. ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 หน้า 6 )

ปัจจุบัน สำนักงาน ป.ป.ส. และกระทรวงยุติธรรม ด้ทำการผลักดันให้มีการยกเลิกพืชกระท่อมจากยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 และยกเลิกบทกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับพืชกระท่อมตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพื่อควบคุมพืชกระท่อมให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 

สำนักงาน ป.ป.ส. การรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อสาธารณะ ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกัน ปราบปราม แก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมายฉบับนี้ อาทิ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ประชาชนทั่วไป ฯลฯ โดยมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตามแบบแสดงความคิดเห็น ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 รวมทั้งสิ้น 1,499 คน จากนั้นนำผล สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชกระท่อม – สำนักงาน ป.ป.ส. มาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย

1.พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 25222 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2562 มาตรา 58/2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อาจมีมติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประกาศให้ท้องที่ใดเป็นท้องที่ ที่ทำการเสพพืชกระท่อมได้โดยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

การเสพและการมีไว้ในครอบครองพืชกระท่อมที่กระทำการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

2. สำนักงาน ป.ป.ส. ได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขอย่างไม่เป็นทางการให้ช่วยสนับสนุนข้อมูลและช่วยร่างกฎกระทรวงและประกาศดังกล่าว ดังนั้น สำนักงาน ป.ป.ส. จึงขอส่ง ร่างกฎกระทรวงและร่างประกาศฯ พร้อมทั้งสรุปผลการรับฟังควำมคิดเห็น เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พิจารณานำไปประกอบการจัดทำร่างกฎหมายตามขั้นตอนต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก