หลายครั้งเราพบว่า ผู้พ้นโทษกลับมาทำผิด ก่อเหตุซ้ำ สร้างความหวาดกลัว และเป็นอันตรายต่อสังคม กระทรวงยุติธรรมจึงได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน หรือ ศูนย์ JSOC (เจซ้อค) เพื่อเฝ้าระวังผู้พ้นโทษ โดยเฉพาะคดีร้ายแรง 7 กลุ่ม ได้แก่ ฆ่าหรือข่มขืนเด็ก ฆ่าข่มขืน ฆาตกรต่อเนื่อง ฆาตกรโรคจิต สังหารหมู่ ชิงทรัพย์หรือปล้นฆ่า และนักค้า ยาเสพติดรายสำคัญ โดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือ EM มาใช้ควบคุมพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง จะทำความผิดอีกในอนาคต และผลักดันให้มี “ร่างกฎหมายเฝ้าระวังผู้พ้นโทษในคดีร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อสังคม” เพื่อให้มีมาตรการในการเฝ้าระวัง เพราะความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คือ ความสุขของสังคมไทย
หน้าแรก » บทความยอดฮิต » มาตรการป้องกันอันตรายจากผู้พ้นโทษที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Q&A : ขาย-ดื่มแอลกอฮอล์ในปั๊มน้ำมัน มีความผิดหรือไม่?
7 สถานที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานที่บริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงคามประเพณี
4. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
7. สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
.
8 สถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้า หรือสโมสร
4. หอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
5. สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานี บริการน้ำมันเชื้อเพลิง
7. สวนสาธารณะของทางราชการ ที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนทั่วไป
8. สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
เช่น ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก, บริเวณสถานีขนส่ง, ในบริเวณสถานีรถไฟหรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟ, ในบริเวณทางเรือโดยสารสาธารณะหรือบนเรือโดยสาร สาธารณะประจำทาง
.
หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Q&A : แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ลอก ตัวหนังสือซีดจาง มองไม่เห็นตัวเลข นำออกไปขับขี่ผิดกฎหมายหรือไม่?
หากแผ่นป้ายทะเบียนรถลอก ตัวหนังสือซีดจาง หรือมองไม่เห็นตัวหนังสือ ห้ามนำหมึกสีดำไปเติมบนตัวอักษรหรือตัวเลขที่สีจาง ไม่งั้น มีความผิด ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ฐานปิดบังหรือเจตนาดัดแปลงทะเบียนรถยนต์ คือสีดำบนตัวอักษรหรือตัวเลขบนทะเบียนรถ หรือหากเพิกเฉยและไม่เปลี่ยนป้ายทะเบียน จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายข้อหาใช้ป้ายทะเบียนชำรุดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ที่ระบุไว้ว่า “รถที่จดทะเบียนแล้วต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กําหนดในกฎกระทรวง” และมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เพราะป้ายทะเบียนชำรุดที่มองไม่เห็นเลข จะส่งผลกระทบต่องานการกำกับดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน
ผัวเมีย ตีกัน ! พบเห็น “ทำร้ายร่างกาย” ช่วยอะไรไม่ได้จริงหรือ?
สามีหรือภรรยาทำร้ายร่างกาย มีความผิดตามกฎหมาย (ยอมความไ […]