ค้นหา

Q&A : ลูกแอบขโมยเงินแม่ ผิดหรือไม่?

สียงกฎหมาย ตอน เงินแม่ก็เหมือนเงินเรา

https://soundcloud.com/user-167217831/118-1?in=user-167217831/sets/3rzm0q0e3byn&utm_source=clipboard&utm_medium=text&utm_campaign=social_sharing

“ใจมันเกเร เลยเดินเซไปจิ๊กเงินแม่…”
ลูกหลานบ้านไหนแอบจิ๊กเงินพ่อแม่บ่อยๆ โดยไม่บอกไม่กล่าวก่อน ถ้าหากแม่ไม่รู้ ก็แล้วไป เอ้ย! แต่ถ้าหากแม่รู้แล้วแม่ไม่ยอมความแล้วล่ะก็ แม่สามารถแจ้งความกับหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับลูกได้ แต่เนื่องจากว่าเป็นแม่ลูกกัน “จึงเป็นความผิดที่ยอมความได้”

กฎหมายได้บัญญัติไว้ ความผิดต่างๆ ทั้ง 8 ฐานความผิดอาญา หากคนในครอบครัวได้กระทำต่อกัน แม้เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ก็ให้ยอมความได้ คือ…

  1.  ลักทรัพย์
  2.  วิ่งราวทรัพย์
  3.  ฉ้อโกงทรัพย์
  4.  โกงเจ้าหนี้
  5.  ยักยอกทรัพย์
  6.  รับของโจร
  7.  ทำให้เสียทรัพย์
  8.  บุกรุก

คำว่า “คนในครอบครัว” ในทีนี้ กฎหมายกำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้
1) บุพการี กระทำต่อผู้สืบสันดาน คือ พ่อแม่กระทำต่อลูกหลาน
2) ผู้สืบสันดานกระทำต่อพ่อแม่ คือ ลูกหลานกระทำต่อพ่อแม่
3) พี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน (แต่ถ้าหากต่างบิดาหรือมารดากระทำต่อกัน ยอมความไม่ได้)

แต่ความผิดดังกล่าวมาข้างต้น หากเป็นการกระทำที่สามีกระทำต่อภริยาหรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ

ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 วรรคแรก และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364 นั้น ถ้าเป็นการกระทำที่สามี กระทำต่อภริยาหรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ

ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการีกระทำต่อผู้สืบ สันดาน ผู้สืบสันดาน กระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน กระทำต่อกัน แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็น ความผิดอันยอมความได้ และนอกจากนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

อ้างอิง : ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 และ 334 – 336 วรรคแรก และมาตรา 341 – 364

Infographic ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในคดีอาญา