ค้นหา

Law เป็นประเด็น : อนาจารเด็ก

จากประเด็นดังในสื่อออนไลน์ กระแสข่าวที่สังคมรับรู้ “การทำอนาจาร” ไม่ว่ากับผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และคนแก่ วันนี้ทาง สำนักงานกิจการยุติธรรม ขอนำเสนอขอบเขตของคำว่า “อนาจาร” และบทลงโทษให้ทราบกัน

คำว่า “อนาจาร” มีความหมายว่า การกระทำต่อเนื้อตัวบุคคลที่ไม่สมควรทางเพศซึ่งมิได้หมายความเฉพาะการประเวณีหรือความใคร่เท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำให้อับอายขายหน้าในทางเพศด้วย การที่กอดเอว จับมือและดึงแขนเป็นการกระทำอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278

การทำอนาจาร แม้ผู้กระทำไม่ได้กระทำเพื่อความใคร่หรือกามารมณ์ ก็เป็นความผิดฐานอนาจารได้ บทลงโทษฐาน “กระทำอนาจาร” ต่อผู้อื่นยิ่งผู้โดนกระทำอายุน้อย โทษยิ่งหนัก

ที่มา : ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 278 – 285/2)

เหยื่อเป็น #ผู้เยาว์ คือ อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่ ก็มีความผิด

  • เหยื่ออายุน้อยกว่า 13 ปี = จำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เหยื่ออายุน้อยกว่า 15 ปี (แต่มากกว่า 13 ปี) = จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*กระทำโดยขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กเข้าใจผิดว่าเป็นคนอื่น มีโทษจำคุก 1 – 15 ปี หรือปรับ 20,000 – 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เหยื่ออายุ 15 ปีขึ้นไป

  • เหยื่ออายุ 15 ปีขึ้นไป โดยถูกขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย โดยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนอื่น = จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

*กรณีที่มีการทำร้ายเหยื่อจนได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และ ปรับ 100,000 – 400,000 บาท หรือ จำคุกตลอดชีวิต และหากได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต (ตาย) มีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต

อย่างไรก็ดีถึงแม้โทษหนักหนาสาหัสแค่ไหน หากไม่เริ่มต้นเปลี่ยนกันที่มุมมองแนวคิดของสังคม การกระทำผิดทางเพศก็ไม่มีวันหมดไป ต่อให้อีกฝ่ายคอยป้องกันตัวเองแค่ไหน ก็ไม่อาจแก้ได้ หากไม่แก้ที่ต้นตอของปัญหาอย่างแท้จริง รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการวิพากษ์ วิจารณ์ การแสดงความความคิดเห็นที่สุ่มเสี่ยง ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย หรืออาจเป็นรอยแผลให้กับใครสักคน เพราะข้อมูลที่เกิดจากสังคมออนไลน์

ที่มา : ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 278 – 285/2)

กระทำอนาจาร คือ การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2550
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2547
คำพิพากษาฎีกาที่ 873/2563