ค้นหา

คำนี้ในกฎหมายแปลว่าอะไร? : มรดกตกแก่แผ่นดิน

#มรดกตกแก่แผ่นดิน : คำนี้ในกฎหมายแปลว่าอะไร?

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1753

กล่าวว่า….”ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน”

“มรดก” หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนถึงสิทธิและหน้าที่ รวมถึงความรับผิดชอบต่าง ๆ ด้วย มรดกจะตกทอดไปยังทายาทได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นถึงแก่ความตายไปแล้ว โดยผู้ที่เป็นเจ้าของมรดก จะเรียกว่า “เจ้ามรดก”

มรดกจะตกทอดสู่ “ทายาท” 2 ประเภท ตามที่กฎหมายบัญญัติ1. ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับ

  • ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา เป็นผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง ได้แก่ลูก หลาน เหลน ลื่อ

  • ลำดับที่ 2 บิดา มารดา ผู้ให้กำเนิด (ไม่รวมถึงบิดา มารดาในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรม)

  • ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

  • ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

  • ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย

  • ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา

2. ทายาทโดยพินัยกรรม หมายถึง ทายาทที่ถูกระบุชื่อลงในพินัยกรรม ถือเป็นคำสั่งหรือเจตนาของเจ้ามรดกที่ทำไว้เพื่อจัดการเรื่องทรัพย์สินของตนเองนั้น หรือสั่งไว้ให้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ หลังจากที่ตนเสียชีวิตลงแล้ว

แต่หากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่แผ่นดิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1753