ค้นหา

ปล่อยกู้ผิดกฎหมายหรือไม่?

ปล่อยกู้ผิดกฎหมายหรือไม่? คำถามคาใจสำหรับใครหลายคน เกี่ยวกับ “เงินกู้นอกระบบ” และ “หนี้นอกระบบ”

เงินกู้นอกระบบ คือ เงินกู้ที่มีลักษณะการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย


เงินกู้ในระบบ คือ การกู้ยืมเงินผ่านสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการไปกู้เงินที่ธนาคารด้วยตัวเอง การใช้เงินจากบัตรเครดิต การขอสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรถ ซึ่งหนี้ในลักษณะนี้ กฎหมายจะมีการรับรองว่ามีการกู้หนี้ยืมสินจริง มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เป็นไปตามกฎหมาย และหากผู้กู้ทำผิดสัญญา ไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมถูกดำเนินคดีแพ่งได้

Law เป็นประเด็น ในวันนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการปล่อยกู้นอกระบบ และการกู้นอกระบบ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่ควรมีการเอาเปรียบกัน ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ เพื่อป้องกันปัญหาหากจำเป็นต้องก่อหนี้ และได้รับความเป็นธรรม มีความชัดเจน ไม่ก่อปัญหาเรื่องการฟ้องร้องหรือการทวงถามจากเจ้าหนี้ ดังนั้น อย่าลืมตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อตกลงให้ดีก่อน ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้


สำหรับผู้ให้กู้หากเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากเดือดร้อนอยากขอความช่วยเหลือ ติดต่อ ได้ที่

  1. ส่วนอำนวยการปฏิบัติการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน สามารถช่วยเจรจาประนอมหนี้ได้ โทร.1359
  2. ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม โทร 02 – 8319888 ต่อ 1033 หรือ 1202 ต่อ 1033

ที่มา : พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 (มาตรา 4)