ค้นหา

สิทธิ์รับเงินชดเชย…เมื่อถูกเลิกจ้าง

1. ค่าจ้าง/เงินเดือน 

– ค่าตอบแทนการทำงาน

– นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุด*, วันลาป่วย (ถ้าปีหนึ่งลาไม่เกิน 30 วัน วันที่เกินอาจไม่ต้องจ่าย), วันลาเพื่อทำหมัน (ถ้าปีหนึ่งลาไม่เกิน 30 วัน วันที่เกินอาจไม่ต้องจ่าย), วันลาเพื่อรับราชการทหาร (ถ้าปีหนึ่งลาไม่เกิน 60 วัน วันที่เกินอาจไม่ต้องจ่าย), วันลาของลูกจ้างหญิงเพื่อคลอดบุตร (ถ้าลาไม่เกิน 45 วัน) โดยจ่ายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตามปกติ

       * วันหยุด

– วันหยุดประจำสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างที่ทำงานซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย จะไม่ได้รับเงินค่าจ้างตรงนี้

– วันหยุดตามประเพณี

– วันหยุดพักผ่อนประจำปี

2. ค่าล่วงเวลา 

– เงิน ซึ่งจะให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างทำงานเกินเวลาในวันทำงานตามปกติ (โดยความยินยอมของลูกจ้างด้วย) 

– จ่ายในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในการทำงาน (จ่ายตามชั่วโมงที่ทำ) หรือในกรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย จะต้องจ่ายไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้

3. ค่าทำงานในวันหยุด

– เงิน ซึ่งจะให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามกฎหมาย เช่น ลักษณะงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียงาน ฯลฯ 

– จ่ายในอัตรา

     ก. ถ้าเป็นลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างในวันหยุด – เมื่อทำงานในวันหยุด นายจ้างจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน (จ่ายตามชั่วโมงที่ทำ) หรือในกรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย จะต้องจ่ายไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ได้ทำ

     ข. ถ้าเป็นลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างในวันหยุด – เมื่อทำงานในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน (จ่ายตามชั่วโมงที่ทำ) หรือในกรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย จะต้องจ่ายไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ได้ทำ

4. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

– เงิน ซึ่งจะให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างทำงานในวันหยุดแล้วเกินเวลา 

– จ่ายไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน (จ่ายตามชั่วโมงที่ทำ) หรือในกรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย จะต้องจ่ายไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ได้ทำ

 5. เงินผลประโยชน์อื่นเนื่องในการจ้าง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24, 25. 26, 54, 56, 57, 58, 59, 61, 62, 63