ค้นหา

ไกล่เกลี่ยไม่เสียเวลา! ค่อยพูดค่อยจา ไม่ต้องเสียตังค์ กฎหมายใหม่ 42

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีข้อดีและมีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันในชุมชนและสังคม เพราะถ้าหากคู่กรณีสามารถเจรจาตกลงยุติข้อขัดแย้งกันได้ ก็ไม่ต้องเสียเงินเสียทองว่าจ้างทนายความ มาฟ้องร้องดำเนินคดีต่อกัน อีกทั้งไม่ต้องมาเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาล ซึ่งกว่าคดีจะเสร็จสิ้นก็ใช้เวลากันหลานเดือนหลายปี ท่านที่เคยมีประสบการณ์เรื่องขึ้นโรงขึ้นศาลก็คงพอเข้าใจได้ดี

คดีอะไรบ้างที่สามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้?
– ข้อพิพาททางแพ่ง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพย์มรดก ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าล้านบาท  
– ข้อพิพาททางอาญา เช่น ความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ (มาตรา 390 ถึง มาตรา 395 และมาตรา 397) 
– ข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน ได้แก่ ความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษ (มาตรา 390 ถึง มาตรา 395 และมาตรา 397) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี (มาตรา 294 วรรคหนึ่ง มาตรา 295 มาตรา 296 มาตรา 299 วรรคหนึ่ง มาตรา 300 และมาตรา 334) 

กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นอย่างไร?
1.ยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย
2.ประสานคู่กรณี
3.แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ย
4.ทำการไกล่เกี่ย
5.จัดทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท

หน่วยงานไหนไกล่เกลี่ยได้ คือ หน่วยงานของรัฐที่แจ้งกระทรวงยุติธรรมแล้ว สถานีตำรวจ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน สำนักงานศาลยุติธรรม 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
กองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท กรมคุ้มครองสิทธิฯ 021412767-8
สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 หรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

ที่มา : พระราชบัญญัติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562