ค้นหา

ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) ศึกษากรณี โครงสร้างความรับผิด ทางอาญาฐานกระทำทรมาน Draft Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance Act B.E. …. (People version) A case study of the criminal liability structure for torture
บทความเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน)
ศึกษากรณี โครงสร้างความรับผิด ทางอาญาฐานกระทำทรมาน
วารสารกระบวนการยุติธรรม ปีที่ 13 เล่มที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563 หน้า 117-137

ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) ได้บัญญัติให้การทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำผิดที่ต้องได้รับโทษทางอาญา ซ่ึงเม่ือพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) มาตรา 9 และมาตรา 45 ได้บัญญัติความผิดฐานกระทำทรมานและกำหนดโทษทางอาญา 1 ร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นกฎหมายอาญา การพิจารณาว่าบุคคลใดมีความผิดและต้องรับโทษฐานกระทำทรมานนั้น ต้องพิจารณาตาม โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา กล่าวคือ บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา มีองค์ประกอบด้วยกัน 3 ประการคือ ประการแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ ประการท่ีสอง การกระทำไม่มีกฎหมายบัญญัติ ยกเว้น ความผิดและประการสุดท้าย การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 2562) ซึ่งการพิจารณานั้นต้องพิจารณา ตามลำดับ

วัตถุประสงค์

1. วิเคราะห์โครงสร้างความผิดฐานกระทำทรมานร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) จากการศึกษาพบว่าประการแรก ในการนิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ได้ถือความหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 วรรคสอง แม้จะเป็นการนิยามที่ครอบคลุม เจ้าหน้าที่ของรัฐในวงกว้าง แต่การนิยามความหมายควรคำนึงถึงอำนาจที่กฎหมายมอบให้เจ้าหน้าที่ของรัฐว่า มีอำนาจในการสืบสวน สอบสวน หรือ แสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้คำรับสารภาพ หรือข้อสนเทศใด ๆ หรือไม่เพื่อสอดคล้องกับมูลเหตจุงใจในการกระทำผิดฐานกระทำทรมาน

2.ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้นิยามความหมายของ “กระทำทรมาน” ไว้ สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัตติหรือลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ค.ศ. 1984 แต่ไม่ได้ให้ความหมายของ “ความเจ็บปวด หรือความทุกทรมานอย่างร้ายแรงเอาไว้” ทำให้เกิดปัญหา ถึงการพิจารณาข้อเท็จจริงว่าการกระทำน้ัน ถือว่าเป็นการกระทำทรมานหรือไม่ เพราะว่าตามบรรทัดฐานคำพิพากษาของไทย ได้มีการตีคีความคำว่า “อันตรายต่อจิตใจ” ไว้เท่านั้น อีกทั้งการบัญญัติมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 9 มีเนื้อความในส่วนเจตนาพิเศษที่ทับซ้อนกัน ซึ่งมาตรา 9 ไม่ควรเขียนซ้ำอีก

3. การกำหนดโทษของมาตรา 45 วรรคสาม กำหนด ให้จำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเป็นโทษที่เทียบเท่ากับ ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 288 ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการกำหนดโทษที่สูงเกินไปไม่เหมาะสมกับลักษณะ ของการกระทำและความร้ายแรงของความผิด สุดท้ายผู้เขียนเห็นว่า สิทธิที่จะไม่ถูกกระทำทรมานเป็นสิทธิที่ต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเร่งด่วน และต้องบัญญัติกฎหมายให้มีความ ชัดเจน และกำหนดโทษที่เหมาะสม

อ่านบทความวิจัย เพิ่มเติมได้ที่ วารสารกระบวนการยุติธรรม ปีที่ 13 เล่มที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563 หน้า 117-137 เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) ศึกษากรณี โครงสร้างความรับผิด ทางอาญาฐานกระทำทรมาน