ค้นหา

การควบคุมการทำสัญญา โดยอาศัยพฤติการณ์อ่อนแอของคู่สัญญา

รู้จักสัญญาในสายตาของกฎหมาย

ทำสัญญาต้องมีคู่สัญญา มีวัตถุประสงค์ มีการแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาโดยเกิดจากใจสมัครของทั้งสองฝ่าย แสดงเจตนาออกมาโดยตรงกับความรู้สึกนึกคิดและปราศจากการบังคับขู่เข็ญหรือสภาวการณ์อื่นใดที่บิดเบือนไปจากความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของคู่สัญญา ดังนั้น ในกรณีบุคคลแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด (เข้าใจผิด) ถูกฉ้อฉล (กลลวง) หรือ    ถูกข่มขู่ หรือมีเหตุอื่นที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลไม่ได้ประสงค์จะเข้าทำสัญญาอย่างแท้จริง สัญญานั้นจะไม่สมบูรณ์ โดยอาจเป็นโมฆะหรือโมฆียะ แล้วแต่กรณี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 154 – 171) 

พฤติการณ์อ่อนแอของคู่สัญญา

Depressed man sitting in a rehab session

นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์อื่นที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจำต้องเข้าทำสัญญาโดยไม่ได้สมัครใจ ที่ไม่ใช่เป็นกรณีที่หลักกฎหมายกำหนดไว้ (เช่น การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด การแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉล หรือการแสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่) เรียกว่า “พฤติการณ์อ่อนแอ” เช่น ขาดการศึกษา ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกรรม ขาดความรับรู้ที่สมบูรณ์      โดยเหตุชราภาพ ความเดือดร้อนทางการเงิน ความเศร้าโศกเสียใจ อิทธิพลของสุรายาเมา สภาพจิตใจ สุขภาพ เป็นต้น ) โดยที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ถึงพฤติการณ์อ่อนแอนั้น และถือโอกาสทำสัญญาในลักษณะที่ทำให้ได้ประโยชน์    มากกว่าหรือให้อีกฝ่ายต้องรับภาระที่หนักกว่าอย่างมาก ซึ่งเป็น “ความไม่เป็นธรรมในเนื้อหาของสัญญา”

กฎหมายไทยกับหลักกฎหมายของต่างประเทศ

หลักกฎหมายเกี่ยวกับการถือประโยชน์จากพฤติการณ์อ่อนแอในกฎหมายอังกฤษและออสเตรเลียคุ้มครองคู่สัญญาในพฤติการณ์อ่อนแอไม่ว่าจะเป็นพฤติการณ์เกี่ยวกับความขัดสน การขาดประสบการณ์ อายุ สภาพจิตใจ สุขภาพ เป็นต้น และบางประเทศนำหลักที่ศาลสร้างขึ้นไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร

หลักกฎหมายไทยที่มีอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่สามารถคุ้มครองคู่สัญญาที่ได้เข้าทำสัญญา  เมื่อตกอยู่ภายใต้พฤติการณ์อ่อนแออันทำให้ตนไม่มีทางเลือกที่แท้จริงหรือไม่อยู่ในสถานะที่จะใช้เหตุผลตามปกติ วิสัยได้จนเป็นผลให้จำต้องรับเอาสัญญานั้นหรือผลเสียเปรียบจากสัญญา เช่น ขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคา ท้องตลาดอย่างมาก หรือตกลงค้ำประกันหนี้ในจำนวนหนี้ที่สูงจนไม่มีขอบเขตจำกัด

ข้อเสนอแนะแนวทางคุ้มครองคู่สัญญาในพฤติการณ์อ่อนแอน

ปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166/1 และมาตรา 167 

อ้างอิง : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์