ค้นหา

การพักการลงโทษ

การพักการลงโทษ คือ การปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาโดย อยู่ภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติ ฝ่าฝืนจะถูกนำตัวกลับมาคุมขังในเรือนจำตามเดิม และถูกลงโทษทางวินัย

หลักเกณฑ์การพิจารณาพักการลงโทษ

  • ความประพฤติ ความขยัน การทำงาน  ความก้าวหน้าทางการศึกษา การทำความชอบให้ราชการ
  • การได้รับการแก้ไข บำบัดฟื้นฟู พัฒนาพฤตินิสัยตามหลักสูตรราชทัณฑ์
  • พฤติการณ์ก่อนมาต้องโทษ
  • ความน่าเชื่อถือของผู้อุปการะ
  • ระยะเวลาการคุมประพฤติ
  • ความปลอดภัยของสังคม
  • ประวัติการต้องโทษ

ใครจะได้รับพักการลงโทษ

  1. นักโทษเด็ดขาดที่จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ
  2. นักโทษเด็ดขาดที่ จำคุกตลอดชีวิต และต้องรับโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ปี

การพักการลงโทษกรณีปกติ จะพิจารณาตามชั้นของนักโทษ

นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม  อาจได้พักไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ

นักโทษเด็ดขาดชั้นดีมาก  อาจได้พักไม่เกิน 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ

นักโทษเด็ดขาดชั้นดี       อาจได้พีกไม่เกิน 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ

การพักการลงโทษกรณีพิเศษ

  • พิจารณาตามคุณสมบัติ  หลักเกณฑ์ ละวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น  ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์
  • นักโทษเด็ดขาดที่มีความชอบแก่ราชการเป็นพิเศษ เช่น สร้างชื่อเสียงให้กรมราชทัณฑ์  ช่วยเหลือราชการจนได้รับอันตราย
  • นักโทษเด็ดขาดที่เจ็บป่วยร้ายแรงและชราภาพ
  • นักโทษเด็ดขาดที่อายุ 70 ปีขึ้นไป

ที่มา : พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ 2560 มาตรา 52-53  หลักเกณฑ์และการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง และการแยกคุมขัง การเลื่อนหรือการลดชั้นนักโทษเด็ดขาด การลดวันต้องโทษจำคุก และการพักการลงโทษ พ.ศ. 2559