ค้นหา

กฎหมายน่ารู้ 93 : รู้ไว้ไม่ทำผิด บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ

ส่วนไหน แบบไหน ป่าใด เป็นป่าสงวน อะไรทำได้บ้าง อะไรห้ามทำในป่าสงวน?


ป่าสงวนแห่งชาติ : กรมป่าไม้
ป่าสงวนแห่งชาติ : ป่าที่ประกาศไว้เพื่อสงวนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีหลักเขตและป้ายเครื่องหมายเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยติดประกาศไว้ที่อำเภอ กิ่งอำเภอ และที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายในหมู่บ้าน

ห้ามยึดถือ/ครอบครอง/ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัย/ก่อสร้าง/แผ้วถาง/เผาป่า/ทำไม้/เก็บหาของป่า หรือทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพ บทลงโทษ : จำคุก 1 – 10 ปี และปรับ 20,000 – 200,000 บาท

  • ทำไม้ : ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ นำไม้ออกจากป่า
  • ของป่า : สิ่งที่เกิดขึ้น/มีอยู่ในป่า เช่น
    (1) ไม้ฝืน ถ่าน เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ผลไม้ หน่อไม้ ชันไม้ ยางไม้
    (2) หญ้า อ้อ พง แขม ปรือ คา กก กระจูด กล้วยไม้ กูด เห็ดและพืชอื่น
    (3) ซากสัตว์ ไข่ หนัง เขา นอ งา กราม ขนาย กระดูก ขน รังนก คลั่ง รังผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง มูลค้างคาว
    (4) ดิน หิน กรวด ทราย แร่ น้ำมัน

ยกเว้นได้รับอนุญาต – ทำไม้/เก็บหาของป่า (ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือประกาศอนุญาตไว้)

เข้าทำประโยชน์/อยู่อาศัย (ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ) กรณีต่อไปนี้

  • เข้าทำประโยชน์/อยู่อาศัย คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี
  • เข้าทำประโยชน์เกี่ยวกับเหมืองแร่ คราวละไม่เกิน 10 ปี
  • เข้าทำประโยชน์/อยู่อาศัยในเขตป่าเสื่อมโทรม ไม่เกิน 20 ไร่ : ครอบครัว คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี (ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย) แต่ไม่ได้สิทธิในที่ดิน และห้ามให้บุคคลอื่นนอกจากคนในครอบครัวเข้าทำประโยชน์ไม่ได้
  • ปลูกป่า/ไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม ไม่เกิน 35 ไร่ : ครอบครัว คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี (ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย) แต่ไม่ได้สิทธิในที่ดิน และห้ามให้บุคคลอื่นนอกจากคนในครอบครัวเข้าทำประโยชน์ไม่ได้
  • เข้าศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ (ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้)

ห้ามบุกรุกพื้นที่เกิน 25 ไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้สัก/ไม้ยาง/ไม้สนเขา/ไม้หวงห้าม ประเภท ข. ตามกฎหมายป่าไม้ หรือกระทำต่อไม้ที่มีจำนวนมากกว่า 20 ต้นหรือท่อน หรือมีปริมาตรไม้เกิน 4 ลูกบาศก์เมตร หรือกระทำต่อต้นน้ำลำธาร/พื้นที่ชายฝั่ง

*บทลงโทษ : จำคุก 4 – 20 ปี และปรับ 200,000 – 2,000,000 บาท

*บทลงโทษ : ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิด/คนงาน/ผู้รับจ้าง/ผู้แทน/บริวารของผู้กระทำผิด

  • ออกจากเขตป่าสงวน
  • รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
  • นำสิ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพแก่ป่าสงวนแห่งชาติออกจากป่าสงวนฯ ภายในเวลาที่กำหนด

อ้างอิง : พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

สอบถามเพิ่มเติม : สายด่วนกรมป่าไม้ 1310 กด 3 กรมป่าไม้


#ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #กฎหมายน่ารู้ #กฎหมายที่ดิน #ที่ดินของรัฐ #ป่าสงวน