ค้นหา

โดนละเมิดสิทธิฯ “หยุดติดคุกฟรี” ขอรับค่าเสียหาย จาก..กองทุนยุติธรรม…ได้แล้ว

โดนละเมิดลิทธิฯ ขอรับค่าเสียหาย จากกองทุนยุติธรรมได้แล้ว “หยุดติดคุกฟรี” คือ ความพยายามของกระทรวงยุติธรรมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเหลือประชาชน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม“การเยียวยาประชาชน”

ที่ผ่าน…กระทรวงยุติธรรมได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ผ่าน พ.ร.บ.ค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

โดยมีหลักเกณฑ์ ว่าต้อง เป็นผู้เสียหายหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือ ร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจาก… การกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น และต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด พูดให้เข้าใจง่ายคือ เป็นเหยื่อที่โดนลูกหลงนั้นเอง หรือ กรณีเป็นจำเลยในคดีอาญา และต่อมาศาลพิพากษายกฟ้อง

สามารถมายื่นเรื่องเพื่อขอเงินชดเชย ช่วงที่ถูกคุมขังในเรือนจำ ระหว่างดำเนินคดีในชั้นศาลได้ แต่ทั้งนี้…ทั้งนั้น การช่วยเหลือเยียวยา ก็ยังไม่ได้ครอบคลุมทุกกลุ่มทุกคน ยังติดขัดข้อกฎหมายกระทั่งเมื่อปี 2558

ที่ผ่านมา…กระทรวงยุติธรรม ยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือประชาชนในกระบวนการยุติธรรมขึ้นมาอีก 1 ฉบับ คือ พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม พ.ศ.2558 เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มที่ยังไม่ได้เป็นจำเลย หรือฟ้องคดี แต่ถูกจับกุมไว้ในเรือนจำเพื่อรอการทำสำนวนของพนักงานสอบสวน หรือที่เรียกว่า “ฝากขัง”ก่อนนำตัวส่งอัยการเพื่อฟ้องต่อศาล.

หากสุดท้ายแล้ว อัยการสั่งไม่ฟ้องคดี แล้วช่วงเวลาที่สูญเสียอิสรภาพ รัฐจะเยียวยาอย่างไร เพราะคนกลุ่มนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนฯ เพราะไม่ได้เป็นจำเลย

นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากกรณีผู้ถูกกล่าวหาถูกควบคุมตัวระหว่างสอบสวน หรือจำเลยที่ถูกควบคุมตัวในระหว่างพิจารณาคดีของศาล ภายหลังพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลพิพากษาจำคุกที่มีระยะเวลาน้อยกว่าเวลาควบคุมตัวระหว่างพิจารณาคดีแล้วแต่กรณี ไม่มีสิทธิได้รับเงิน…ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงทำให้คนเหล่านั้นเสียสิทธิ “ติดคุกฟรี”

ที่มา : บทความ ยธ.เยียวยา”ผู้ถูกละเมิดสิทธิ-แพะ”อุดช่องโหว่ “ติดคุกฟรี-ติดคุกเกิน”

“ปัจจุบันรัฐบาลได้ตรา พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม พ.ศ.2558 มาตรา 9 (3) กำหนดให้เงินกองทุนยุติธรรม จ่ายเพื่อการช่วยเหลือ ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ ด้วยการออกเป็น ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ของกองทุนยุติธรรม พ.ศ.2559 ข้อ 7 (3) ให้สามารถจ่ายเงินกองทุนในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดได้ โดยให้ไปออกเป็นประกาศคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม เรื่อง อัตราเงินช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. …. เพื่ออุดช่องว่างดังกล่าว”

สำหรับการเยียวยา ผู้ถูกละเมิดสิทธินั้น ยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาตาม

ที่ผ่าน…กระทรวงยุติธรรมได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ผ่าน พ.ร.บ.ค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

1.ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริง

2.ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ เท่าที่จ่ายจริง

3.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ จ่ายตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำในท้องที่ประกอบการ ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี

4.เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีถูกละเมิดจนถึงแก่ความตาย

5.เงินช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายอื่นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด

ที่มา : พ.ร.บ.ค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544