ค้นหา

กฎหมายน่ารู้ 86: เตรียมอะไร ไปที่ไหน ? งานทะเบียนไม่ยากอย่างที่คิด

“เกิด ตาย ย้ายบ้าน ทำบัตรประชาชน แต่งงาน หย่าร้าง ฯลฯ” ขั้นตอนทางทะเบียนราษฎรอาจจะฟังดูยุ่งยาก เสียเวลาหากไม่เคยทำมาก่อน ไม่รู้ต้องทำอย่างไรไม่ต้องกังวล! วันนี้เราสรุปมาให้แล้ว ❤เตรียมอะไร ไปที่ไหน ต้องแจ้งภายในกี่วัน ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่เมื่อเตรียมตัวให้พร้อมและเอกสารพร้อม เราจะพบว่าการยื่นแจ้ง/ของานทะเบียนต่างๆนั้นไม่ยุ่งยาก และไม่เสียเวลาอย่างที่คิดประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร เป็นหลักฐานตัวบ่งชี้ตัวบุคคล ฐานะของตัวบุคคลใช้ใน การติดต่อยืนยันตัวบุคคล ในการติดต่อกับหน่วยราชการ การทำนิติกรรมต่างๆ การศึกษา การเลือกตั้ง เป็นต้น-ทะเบียนราชบัญญัติราษฎร พ.ศ. 2534-ดูข้อมูลเพิ่มเติมทะเบียนและบัตร(บุคคล) – กรมการปกครอง https://www.dopa.go.th/public_service/service_guide#งานทะเบียน#ทะเบียนราษฎร#แจ้งเกิด#แจ้งตาย#ย้ายบ้าน#สมรส#หย่า#สร้างบ้าน#รื้อถอนบ้าน#ขอเลขทะเบียน#กฎหมายน่ารู้#กฎหมาย#สำนักงานกิจการยุติธรรม#ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย#รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น#กระทรวงยุติธรรม

การแจ้งเกิด
สถานที่ติดต่อ
– สำนักทะเบียนอำเภอ
– สำนักทะเบียนท้องถิ่น
– สำนักทะเบียนเขต

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑. การแจ้งเกิดภายในกำหนด
๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง)
๒) บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง (ฉบับจริง)
๓) หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี) (ฉบับจริง)
๒. การแจ้งเกิดกำหนด
๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง)
๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี) (ฉบับจริง)
๓) พยานบุคคลที่ให้การรับรอง และบัตรประจำตัวประชาชน
๔) รูปถ่ายของบุคคลที่ขอแจ้งเกิด ๑ รูป (กรณีอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์)
๕) หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี) (ฉบับจริง)

ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การแจ้งตาย
สถานที่ติดต่อ
– สำนักทะเบียนอำเภอ
– สำนักทะเบียนท้องถิ่น

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล(ถ้ามี)
๒) หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
๓) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง

ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การอนุญาตปลูกสร้างบ้าน(ขอเลขที่บ้าน)
สถานที่ติดต่อ
– สำนักทะเบียนอำเภอ
– สำนักทะเบียนท้องถิ่น

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
๒) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
๓) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง หรือผู้ได้รับมอบหมาย
๔) หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)

ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

ย้ายที่อยู่ภายในอำเภอเดียวกัน
แจ้งได้ที่
สำนักงานเทศบาล
ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน หรือ ที่ว่าการอำเภอ

หลักฐาน
สำเนาทะเบียนบ้านทั้งเก่า-ใหม่
บัตรประชาชน(กรณีไม่ใช่เจ้าของบ้านให้นำบัตรของเจ้าของบ้านด้วย)
หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านไปแจ้งแทน(กรณีไปแจ้งเข้า-ย้ายออกแทนคนอื่น)

การแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
คุณสมบัติ
– ชายสัญชาติไทย
– อายุครบ 17 ปี (ในปีที่แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน)
บุคคลซึ่งยังไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด และอายุยังไม่ถึง 46 ปี ยังคงต้องลงบัญชีทหารกองเกิน

เอกสาร/หลักฐาน
– ใบสูติบัตร(ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
– ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของผู้แจ้ง
– ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง
– ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบิดา มารดา เป็นบุคคลต่างด้าว)
– หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)

สถานที่ในการแจ้ง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน

กรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน

กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง
– ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
– ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)

กรณีที่บิดา มารดาได้จดทะเบียนหย่าในภายหลัง ให้ดูหลักฐานในบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในความปกครองของใคร ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินที่อำเภอ / เขตที่บิดาหรือมารดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
บทลงโทษของการไม่แจ้งขอขึ้นทะเบียนทหาร
หากมาขอลงบัญชีทหารกองเกินก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการฟ้องร้องและจับกุม บทลงโทษจะลดลงเหลือเพียงจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจเป็นผู้ปรับเงิน
หากทางอำเภอหรือเจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล ต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 4 ปี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองทัพบก กระทรวงกลาโหม

กรณีขอมีบัตรครั้งแรก (กรณี อายุครบ ๗ ขวบ)
สถานที่ติดต่อ
– สำนักบริการที่ ๑ วังไชยา นางเลิ้ง กรุงเทพฯ
– สำนักทะเบียนอำเภอ
– สำนักทะเบียนท้องถิ่น
– สำนักทะเบียนเขต

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง)
๒) สูติบัตร หรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ฉบับจริง)
๓) กรณีไม่มีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคล เช่น บิดา มารดาหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมา ๑ คน

ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
สถานที่ติดต่อ
สำนักทะเบียนอำเภอ

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง)
๒) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
๓) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

ค่าธรรมเนียม
๕๐ บาท

บัตรประชาชนหมดอายุ/หาย/ชำรุด

หลักฐาน
สำเนาทะเบียนบ้าน
หลักฐานทางทหาร(ผู้ชาย)
บัตรเดิม(กรณีหมดอายุ ชำรุด)
หนังสือรับรองว่าบัตรหายจาก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ เทศบาล
หลักฐานเอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอ ที่ราชการออกให้ เช่น ใบขับขี่

กรณีบัตรหายควรแจ้งความไว้เป็น “หลักฐาน” (ป้องกันการการถูกแอบอ้าง)

แจ้งที่อำเภอใกล้บ้าน

การจดทะเบียนสมรส
สถานที่ติดต่อ
สำนักทะเบียนอำเภอ

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
๒) สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
๓) หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานฑูตหรือกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
๔) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง)

ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การจดทะเบียนหย่า
สถานที่ติดต่อ
สำนักทะเบียนอำเภอ

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
๒) ใบสำคัญการสมรส (ฉบับจริงทั้ง ๒ ฉบับ)
๓) หนังสือหย่า หรือหนังสือสัญญาหย่า

ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

ย้ายที่อยู่ภายในอำเภอเดียวกัน
แจ้งได้ที่
สำนักงานเทศบาล
ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน หรือ ที่ว่าการอำเภอ

หลักฐาน
สำเนาทะเบียนบ้านทั้งเก่า-ใหม่
บัตรประชาชน(กรณีไม่ใช่เจ้าของบ้านให้นำบัตรของเจ้าของบ้านด้วย)
หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านไปแจ้งแทน(กรณีไปแจ้งเข้า-ย้ายออกแทนคนอื่น)

บริการคัดและรับรองสำเนาทะเบียนบ้าน (ทะเบียนราษฎร หรือ ทร.๑๔) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนครอบครัว
สถานที่ติดต่อ
– สำนักบริการที่ ๑ วังไชยา นางเลิ้ง กรุงเทพฯ
– สำนักบริการที่ ๒ ลำลูกกา กรมการปกครอง คลอง ๙ จ. ปทุมธานี
– สำนักทะเบียนอำเภอ
– สำนักทะเบียนเขต
– สำนักทะเบียนท้องถิ่น

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
๒) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
๓) หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง