ค้นหา

อายุความมีไว้ทำไม?

วัตถุประสงค์ #อายุความ คดีอาญานั้น #คนทำผิด ต้อง #รับโทษ.. แต่หากปล่อยเวลาเนิ่นนานไปจนคดีขาดอายุความแล้ว.. เช่น หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ..คนทำผิดก็อาจจะลอยนวล ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายได้…เรามาดูกันว่า #ทำไมต้องมีอายุความในคดีอาญา.. #อายุความมีไว้ทำไม..

จะเป็นช่องว่างที่นักกฎหมายเขียนมาเพื่อ ช่วยให้พวกพ้องหลุดพ้นคดีจริงหรือไม่…ประเทศต่างๆ ในโลก.. แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ครับ#กลุ่มแรก ประเทศที่มีกฎหมายอายุความ.. ประเทศในกลุ่มนี้ กฎหมายจะกำหนดเวลาไว้ จะมากน้อย แล้วแต่โทษว่าจะหนักหรือเบาว่า…เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องหาตัวคนทำผิดมาดำเนินคดีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา..

ถ้าหนีไปจนเลยเวลาแล้ว ห้ามดำเนินคดีเขาอีก…ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ เช่น #ประเทศไทย ฝรั่งเศส เป็นต้น นับแต่วันทำผิด.. ถ้าหลบหนีไปและจับไม่ได้ภายในอายุความ.. คดีจะขาดอายุความ..จับอีกไม่ได้แล้ว…แต่ถ้าตำรวจจับได้แล้ว.. เขาหนีไป ก่อนที่อัยการจะฟ้องศาล จนคดีขาดอายุความแล้ว.. แม้เจอตัวทีหลัง ก็จะจับเขามาฟ้องคดีไม่ได้..เพราะขาดอายุความ…ถ้าตำรวจจับได้ อัยการฟ้องศาลแล้ว.. แต่เขาหลบหนีไปก่อนศาลตัดสิน.. จนขาดอายุความ..

แม้เจอตัวทีหลัง ก็ฟ้องอีกไม่ได้…ถ้ามีตัวอยู่.. เขาถูกดำเนินคดีจนศาลตัดสินจำคุก.. แต่ต่อมาแหกคุกหนีไป จนขาดอายุความ.. แบบนี้ ก็จะไปจับเขาอีกไม่ได้…วัตถุประสงค์ของประเทศที่ให้มีอายุความ เพราะเชื่อว่า..”#การพิสูจน์ความจริง” นั้น ต้องรีบทำให้เร็วที่สุด ในขณะที่ #พยานหลักฐานยังสดและใหม่….. เพราะโอกาสที่ศาลจะตัดผิดพลาดคลาดเคลื่อนจะมีน้อย.. ยิ่งทิ้งเวลาไว้นานเท่าใด.. หลักฐานต่างๆยิ่งสูญหายไปมากขึ้น..

โอกาสที่ศาลจะตัดสินยกฟ้อง หรือผิดพลาดก็มีมากขึ้นไปด้วย..ดังนั้น เพื่อเร่งรัดให้ตำรวจเร่งจับกุมคนร้าย.. และเร่งรัดให้อัยการรีบฟ้อง..จึงจำเป็นต้องมีอายุความ.. .อายุความ จึงมีประโยชน์ ที่จะเป็น #สภาพบังคับให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเร่งรัดการสืบสวนสอบสวน ฟ้องและตัดสินคดีโดยเร็วนั่นเอง..

หากละเลย ไม่เร่งรัด เพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการภายในอายุความ.. เจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องต้องมีความรับผิด…#กลุ่มที่สอง ประเทศที่มีอายุความเฉพาะในความผิดเล็กน้อย.. แต่ไม่มีอายุความในความผิดร้ายแรง.. เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น.เนื่องจากประเทศเหล่านี้ เห็นว่า..ในความผิดร้ายแรงบางอย่าง..เช่น ฆ่าคนตาย ทุจริตคอร์รัปชั่น ฟอกเงิน หรือข่มขืนเด็ก นั้น ไม่ควรมีอายุความ และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม…พูดง่ายๆ คือ ถ้าหลบหนี.. ก็ต้องหนีกันให้ตลอดชีวิต แม้จะหนีไปต่างประเทศหลายปี ถ้ากลับมา ก็จะต้องถูกดำเนินคดี..เนื่องจากประเทศกลุ่มนี้ เชื่อว่า.. “คนทำผิด จะอ้างเวลาที่ผ่านไป เพื่อให้ตนรอดพ้นจากการรับโทษไม่ได้..” ทั้งสองความเชื่อนี้ มีข้อดีข้อเสียต่างกัน.. .#กลุ่มแรก

เช่น ไทย ที่มีอายุความ …#ข้อดี คือ.. คนทำผิดถูกติดตามจับกุมมาลงโทษภายในเวลาไม่นาน..แต่ #ข้อเสีย คือ ถ้าจับไม่ได้คนร้ายจะอ้างอายุความเพื่อหนีความยุติธรรมได้…#กลุ่มที่สอง. เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ไม่มีอายุความ..มีข้อดีคือ แม้ฟ้าถล่มทลาย เวลาเนิ่นนานแค่ไหน ..

คนผิดต้องถูกลงโทษในที่สุด.. วิธีนี้เหมาะสมกับประเทศที่มีระบบสืบสวนสอบสวนที่จริงจัง คือ ไม่ต้องเร่ง ก็ทำเร็วอยู่แล้ว….แต่มีข้อเสีย คือ..พยานหลักฐานอาจสูญหายไปตามกาลเวลา..และเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจ abuse of power โดย #ไม่ติดตามตัวคนร้าย อย่างจริงจัง โดยอ้างว่า .. ไม่ต้องรีบ คดีไม่มีอายุความ..จนกระทั่งพยานสูญหายหมด จึงค่อยจับกุมฟ้องร้อง.. เพราะรู้อยู่แล้วว่า ที่สุดศาลต้องยกฟ้องเพราะขาดพยานหลักฐาน…สำหรับประเทศไทย เราใช้ระบบกฎหมายที่มีอายุความแบบกลุ่มแรกครับ…

แต่ช่วงหลังมานี่.. มีคนร้ายสำคัญ หลบหนีไปต่างประเทศ จนคดีขาดอายุความหลายคดี…ทำให้เกิดกระแสสังคมที่ ไม่ต้องการให้มีอายุความ จะได้ตามจับได้..และกระแสนั้น ทำให้มีการแก้ไขกฎหมาย ขยายอายุความในคดียาเสพติด… และไม่มีอายุความในขณะผู้ต้องหาคดีทุจริตหลบหนี…ด้วยความเคารพ ผมเห็นด้วยว่า การแก้ไขปัญหาทุจริตโดยการแก้ไขเรื่องอายุความ เป็นเรื่องที่ดี.. แต่ก่อนจะแก้ไขกฎหมายอะไร อยากขอให้ทำความเข้าใจระบบกฎหมาย เจตนารมณ์ และข้อดีข้อเสียของการมีและไม่มีอายุความของประเทศอื่นๆก่อน…

แล้วพิจารณาระบบกระบวนการยุติธรรมของบ้านเรา ว่าเหมาะสมที่จะเอาแบบเขามาใช้หรือไม่.. ถ้าเอามาใช้ จะเกิดผลเสีย ที่ยอมรับได้ เพียงใด หรือไม่…การใช้ระบบไม่มีอายุความ ย่อมเสี่ยงต่อพยานหลักฐานสูญหายไป.. โดยอ้างได้ว่า คดีไม่มีอายุความ จึงไม่มีใครต้องรับผิดชอบ…ถ้าต่อมาศาลพิพากษายกฟ้อง..สังคมจะยอมรับได้มั้ย…ถ้าเรายึดกับระบบมีอายุความ แล้วสร้างระบบกำกับดูแล การติดตามจับกุมที่ชัดเจนตรวจสอบได้.. น่าจะดีกว่ามั้ย.. .ฝาก #นักกฎหมายรุ่นใหม่ ช่วยกันตรองดู…มี #งานวิจัย เรื่องอายุความ หลายฉบับ ตั้งแต่ยังไม่มีการ #แก้ไขกฎหมายอายุความ มีทั้งที่คณะผู้ทำวิจัยเป็น #พนักงานอัยการ และ #ผู้พิพากษา.. ใครสนใจลองหาอ่านดูนะ

ที่มา : ขอขอบคุณ ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์ ที่ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และอนุญาตให้สำนักงานกิจการยุติธรรมได้เผยแพร่ให้ประชาชนได้ความรู้ต่อไปครับ#บทความ#กฎหมาย#กฎหมายน่ารู้#ข่าววันนี้#ข่าวดัง#สื่อ#สำนักงานกิจการยุติธรรม#ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย#รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น