ค้นหา

กฎหมายอาญาน่ารู้ 66 : ดูหมิ่นแบบนี้ ฎีกาว่าไงนะ?

คิดจะพูด แต่ก็พูดอย่างไม่คิด ระวังเจอฟ้องนะจ๊ะ ในโลกที่ใครๆอยากจะแสดงความคิดเห็นอะไร ก็พิมพ์ออกมาได้ บางทีเราก็ไม่ทันคิดว่า คำที่เราพูด พิมพ์ เขียน มัน “แรง “กระแทกใจคนอ่านคนเห็นคนฟังแค่ไหนแต่สถานการณ์คนฟังเจ็บใจ คนพูดขึ้นศาล อย่างไรก็ตามเราหลีกเลี่ยงได้ แม้การหักห้ามใจจากความรู้สึกคันปาก อยากชกทางวาจาจะเป็นเรื่องยาก ก็ขอให้ทุกท่านท่องไว้ว่า “ขึ้นโรงขึ้นศาลก็ไม่สนุกเหมือนกัน”

คำพิพากษาศาลฎีกาได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ ความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ไว้ว่า… การดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หมายถึง “การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย” สำหรับวันนี้เราจึงขอหยิบยกตัวอย่างที่พบเห็นและได้ยินกันบ่อยๆ ซึ่งเท่าที่รวบรวมจากคำพิพากษาศาลฎีกา คำหยาบคายทั้งหลาย อีดอก-อีเหี้ย’-‘อีสัตว์’-อีควาย-อีตอแหล-ไอ้ระยำ-ไอ้เบื๊อก-ไอ้ตัวแสบ-เฮงซวย -ผู้หญิงต่ำๆ – พระหน้าผี-พระหน้าเปรต-มารศาสนา -ไอ้หน้าโง่ – อีร้อย…(ตามด้วยคำลามก) – อีดอกทอง หากคำเหล่านี้ไปพูดใส่หน้าใครเข้า คนพูดจะมีความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าทันที อย่าให้อารมณ์ มากำหนดคำพูด เป็นการดูถูกและดูหมิ่นผู้อื่น

โทษตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานดูหมิ่น (ยอมความไม่ได้) ดูหมิ่น คือ ด่าหรือเหยียดหยาม “ต่อหน้า” หรือ “ด้วยการโฆษณา” ต้องรับผิดทางอาญาความผิดฐาน “ดูหมิ่น”

1. ดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่กระทำตามหน้าที่ (ม.136) : จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา ในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี (ม.198) : จำคุกตั้งแต่ 1 – 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ดูหมิ่นผู้อื่น “ต่อหน้า” หรือ “ด้วยการโฆษณา” (ม.393) : จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. กระทำการใดๆ ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามศพ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับคำด่าหยาบคาย เพื่อให้สะใจคนด่า.. เจ็บใจคนฟัง.เป็นการทำร้ายกันด้วยคำพูด แบบนี้ เขาเรียกว่า “ดูหมิ่นซึ่งหน้า..” ด่าคนอื่นข้างเดียว.. คนด่า. ก็ผิดคนเดียว..ถ้าต่างฝ่ายต่างด่ากัน ก็มีความผิดกันทั้งคู่..

– ถ้าจะจบคดี..ต้องรับสารภาพ แล้วยอมเสียค่าปรับชั้นโรงพัก

– ถ้าไม่รับสารภาพ ตำรวจจะปรับชั้นโรงพักไม่ได้ ..ต้องส่งอัยการเพื่อฟ้องที่ศาลแขวง เพื่อสืบพยานต่อสู้ว่า ไม่ได้ด่า

ด้วยความปราถนาดีจาก #สำนักงานกิจการยุติธรรม#กระทรวงยุติธรรม#ดูหมิ่น#คำพิพากษา#ศาลฎีกา#ด่า#คำหยาบ#ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย#สังคมเคารพกฎหมาย#กฎหมายน่ารู้ ที่มา : ประมวลกฎหมายอาญา,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2521,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2538,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2551,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2527,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2525,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7572/2542,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2495