ค้นหา

มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 Thailand Research Expo 2019 “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน”

งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 Thailand Research Expo 2019 “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน” ในวันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพ SHOW MORE

  1. โครงการนำเครื่องมือ วิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายมาใช้ในประเทศไทย

RIA : Regulatory Impact Assessment หรือ การพัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ จะทำให้เกิดความก้าวหน้าในการปฏิรูปกฎหมายของประเทศและจัดทำกฎหมายให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันยังพบปัญหาและอุปสรรคในการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมาย สาเหตุมาจากหลักเกณฑ์และกระบวนการในการวิเคราะห์ที่ไม่เหมาะสมและไม่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการนำไปปฏิบัติ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรที่ประเทศไทยต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกระบวนการในการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย และท่านยังสามารถร่วม การประชุมหลากหลายประเด็นเกี่ยวกับงานวิจัยต่างๆในประเทศไทย มากกว่า 100 หัวข้อเรื่อง

2. โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตร สำหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุม

Youth Friendly Health Services (YFHS) แผนงานเพื่อป้องกันและลดปัญหาสุขภาพในกลุ่มประชากรวัยรุ่น ประเทศไทยได้มีการดำเนินการ เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดย กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต สำหรับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นองค์กรหนึ่งที่ดูแลเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่น ในการให้บริการด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุมยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ เหตุผลดังกล่าวอาจส่งผลต่อการให้บริการด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนที่ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสาหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุมจึงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุม ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งด้านสาธารณสุขและกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค กรมราชทัณฑ์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่ดี เหมาะสม สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการ

3. โครงการศึกษาเรื่องการบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล

ปัจจุบันโลกและประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตยุคใหม่ ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจ สินค้า และบริการ ที่ต้องนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมาควบคู่กับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล เมื่อสินทรัพย์ดิจิทัลกลายเป็นทรัพย์ที่มีราคาและสามารถถือเอาได้อันจะทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นทรัพย์ทางเศรษฐกิจอีกประเภทหนึ่งที่ประชาชนทั่วไปอาจถือครองเอาไว้ ดังนั้นในการบังคับคดีให้เป็นไปตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้บุคคลใดชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะร้องขอต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ทำการยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อนำทรัพย์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โดยทรัพย์สินที่จะทำการบังคับคดีได้มีหลายประเภท

4. พัฒนาประสิทธิภาพระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องครอบครัวและมรดกตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องครอบครัวและมรดกตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร ระบบ เครื่องมือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทครอบครัวและมรดกตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อขับเคลื่อนระบบพัฒนาเป็นระบบนำร่อง และสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงานรัฐ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการจัดอบรมกลุ่มผู้นำศาสนาอิสลามและกลุ่มสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนทางวิชาการ การศึกษา พัฒนาเครื่องมือการไกล่เกลี่ยการประชุมร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดทำและวิพากษ์คำอธิบายคู่มือข้อบัญญัติกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก รายประเด็น และประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ 3 ปี

5. การศึกษาระยะเวลาการเน่าเปื่อยของศพในสุสาน

การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลด้วยวิธีทางมานุษยวิทยาจะสามารถให้ข้อมูลทางชีวภาพ (biological profile) ได้จากโครงกระดูก ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ โครงกระดูกที่มีส่วนประกอบตามลักษณะทางกายวิภาคที่มีสภาพสมบูรณ์ย่อมสามารถให้ข้อมูลทางชีวภาพของบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงกระดูกนั้นได้ดี ดังนั้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพศพ เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการนำโครงกระดูกของศพนิรนามขึ้นจากหลุมฝังศพที่ สุสานฯ จึงมีความสำคัญในการเป็นต้นทางของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ จากการศึกษานี้พบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการนำกระดูกขึ้นจากหลุมศพ เพื่อให้ได้กระดูกที่แยกออกจากกันและยังคงสภาพสมบูรณ์ เหมาะสมต่อการตรวจวิเคราะห์ คือระยะเวลาตั้งแต่ 8 เดือน ถึง 11 เดือน หลังการฝัง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพศพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ พยาธิสภาพและบาดแผล ปัจจัยด้านขนาดรูปร่างและน้ำหนักของศพ รวมถึงการเข้าถึงแมลง

6. แนวทางการบริหารงานบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังหลบหนี

การศึกษา“แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังหลบหนีของกรมราชทัณฑ์” เพื่อศึกษา 1.สภาพปัญหาในการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมราชทัณฑ์ด้านการควบคุมผู้ต้องขัง 2. เพื่อค้นหาแนวทางหรือมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมราชทัณฑ์ในการป้องกันการหลบหนีของผู้ต้องขัง โดยเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการควบคุมผู้ต้องขัง (ฝ่ายควบคุมและฝ่ายรักษาการณ์) ของเรือนจำ/ทัณฑสถาน จำนวน 1,364 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เรือนจำ/ทัณฑสถาน ซึ่งเคยมีผู้ต้องขังหลบหนี

7. ระบบตรวจการณ์เป้าทางทะเล และอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กมาเพิ่มประสิทธิภาพการสืบสวนสอบสวน

โครงการวิจัยนี้นำเสนอการนำระบบตรวจการณ์เป้าทางทะเล และอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กมาใช้ร่วมกันเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการสืบสวนสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบริเวฯชายฝั่งทะเลไทย อาทิ การลักลอบขนน้ำมันเถื่อน ลักลอบขนสินค้าหลบเลี่ยงภาษี เป็นต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมการกระทำความผิดและเข้าถึงผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็ว การวิจัยครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เรดาร์ตรวจการณ์เป้าทางทะเล VTMS (Vessel Traffic Monitoring System) ตรวจการณ์เรือที่ไม่ได้จดทะเบียนข้อมูลการเดินเรือ และอากาศยานไร้ขนขับขนาดเล็ก รุ่น Siam UAV โดย sever ของระบบเรดาร์ตรวจการณ์เป้าทางทะเลจะทำหน้าที่ correlate เป้าให้มีความน่าเชื่อถือที่สุดตลอดเวลารวมทั้งทำการบันทึก history ทุกๆ เป้าหมายไว้ รวมทั้งบันทึกกิจกรรมบนหน้าจอไว้ตลอดเวลา และสามารถ replay เพื่อสรุปการทำงานภายหลัง เมื่อเรดาร์ทำการตรวจสอบเรื่อที่มี AIS ID ก็จะพบว่าเรือบางลำไม่มีระบบ AIS เมื่อพบเป้าหมายก็สามารถติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมการเดินเรือ และเมื่อเรือต้องสงสัยมีพฤติกรรมการเดินเรือที่ผิดปกติจะทำการส่ง UAV บินไปเป้าหมายเพื่อเก็บภาพอัตลักษณ์ของเรือและสำรวจเรือเป้าหมาย เมื่อได้ข้อมูลอัตลักษณ์ของเรือแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์กับฐานข้อมูลเรือและผู้ครอบครองที่มีอยู่

8. Organized Corruption : กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย

“โครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริต คอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) จำแนกตาม ภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและ ภาษีศุลกากรในประเทศไทย” เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงาน ป.ป.ช. และเป็นผลงานในความรับผิดชอบของผู้วิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ ศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และความร่วมมือของกลุ่มอิทธิพลผ่านกรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย มีพฤติการณ์ใช้อิทธิพลแฝงหรือ แทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือเอื้อประโยชน์ให้ แก่กลุ่มอิทธิพลดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ ภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นการใช้ช่องว่างของกฎหมาย หรือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

9. การพัฒนากลไกการควบคุมพฤติกรรมและการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัยของ ผู้ถูกคุมความประพฤติ

การปฏิบัติงานคุมประพฤติไม่ได้เป็นเพียงการทำหน้าที่การกฎหมาย แต่ยังต้องทำบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัยเพื่อแก้ไขฟื้นฟู ผู้กระทำผิด เพื่อมิให้เขาเหล่านั้นหวนกลับไปกระทําความผิดซ้ำขึ้นใหม่ อีกทั้งยังต้องดําเนินการให้ผู้กระทําผิดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข การศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานควบคุมและสอดส่องและกระบวนงานแก้ไขฟื้นฟูและช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้กระทําผิดของพนักงานคุมประพฤติ ให้สามารถใช่เป็นกลไกในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ถูกคุมความประพฤติและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัยของผู้ถูกคุมความประพฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ