ค้นหา

6 เทคนิค ทำพินัยกรรมอย่างไร ? ให้สมบูรณ์

กฎหมายน่ารู้ : 6 เทคนิค ทำพินัยกรรมอย่างไร? ให้สมบูรณ์
เลือกทำแบบใดก็ได้ แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามแบบ มิเช่นนั้นจะตกเป็นโมฆะบังคับตามแบบนั้นไม่ได้

เอกสารประกอบ
1.บัตรประจำตัวประชาชน
2.ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.เอกสารสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
4.กรณีผู้ทำพินัยกรรมอายุ 60 ปี หรอป่วย ควรมีใบรับรองแพทย์ว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
5.พยานบุคคล 2 คน

พินัยกรรมมี 6 แบบ เลือกทำแบบใดก็ได้ แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามแบบ มิเช่นนั้นจะตกเป็นโมฆะบังคับตามแบบนั้นไม่ได้
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
– ทำเป็นหนังสือ ข้อความอาจใช้การพิมพ์
– ลงวัน เดือน ปีที่ทำ
– ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน และพยาน 2 คนลงลายมือชื่อรับรอง
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
– ผู้ทำพินัยกรรมเขียนขึ้นด้วยลายมือตัวเองทั้งฉบับ มีข้อความ ลงวัน เดือน ปีที่ทำ
– ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม โดยไม่ต้องมีพยาน
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
– ผู้ทำพินัยกรรมไปที่สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.) แจ้งข้อความที่ต้องการใส่ในพินัยกรรมของตนแก่เจ้าหน้าที่และพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน (จะทำนอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ ถ้ามีการร้องขอ)
– เจ้าหน้าที่จดข้อความตามที่ได้รับแจ้ง และอ่านข้อความให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน 2 คนฟัง
– หากถูกต้อง ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน 2 คนลงลายมือชื่อ
– ข้อความที่จดนั้น จะต้องมีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ที่จด วันเดือนปีที่จด และจดข้อความว่าพินัยกรรมได้ทำขึ้นถูกต้องและประทับตราตำแหน่งไว้
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
– ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม (อาจเขียนหรือพิมพ์) แล้วลงลายมือชื่อตัวเอง
– ผนึกพินัยกรรมพร้อมทั้งลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
– นำพินัยกรรมที่ผนึกไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.) พร้อมทั้งพยานอย่างน้อย 2 คน และแจ้งต่อบุคคลเหล่านี้ว่าพินัยกรรมนี้เป็นของตน
– เจ้าหน้าที่จะจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไว้บนซองและประทับตราตำแหน่ง จากนั้นเจ้าหน้าที่และพยานก็จะลงลายมือชื่อบนซอง
5. พินัยกรรมแบบวาจา
– ผู้ต้องการทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดได้ เช่น อยู่ในที่อันตราย ฯลฯ
– ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ต้องการในพินัยกรรมต่อหน้าพยานที่อยู่ตรงหน้าอย่างน้อย 2 คน
– พยานทั้งหมดไปที่สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.) โดยไม่ชักช้า และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมสั่งไว้ด้วยวาจา พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่ทำพินัยกรรม รวมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย
– เจ้าหน้าที่จดข้อความที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งให้พยานที่มาแจ้งลงลายมือชื่อ (ในกรณีไม่อาจลงลายมือชื่อก็ให้พิมพ์ลายนิ้วมือและให้พยานที่หามาใหม่อย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อรับรอง)
6. พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ
– กรณีคนไทยที่อยู่ต่างประเทศต้องการทำพินัยกรรม
– จะทำตามแบบของกฎหมายประเทศที่ตนอยู่ทำพินัยกรรมก็ได้ หรือจะทำแบบของกฎหมายไทยก็ได้
– หากทำตามแบบกฎหมายไทย ในกรณีพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบเอกสารลับ และพินัยกรรมแบบวาจา ซึ่งสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ก็ให้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นของบุคคลต่อไปนี้แทน
ก. พนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทย
ข. พนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรม เป็นผู้รับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานก็ได้

ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
ผู้ทำพินัยกรรมไปที่สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.)(จะทำนอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ ถ้ามีการร้องขอ)

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
แจ้งข้อความที่ต้องการใส่ในพินัยกรรมของตนแก่เจ้าหน้าที่และพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
ข้อความที่จดนั้น จะต้องมีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ที่จด วันเดือนปีที่จด และจดข้อความว่าพินัยกรรมได้ทำขึ้นถูกต้องและประทับตราตำแหน่งไว้

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม (อาจเขียนหรือพิมพ์) แล้วลงลายมือชื่อตัวเอง

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
นำพินัยกรรมที่ผนึกไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.) พร้อมทั้งพยานอย่างน้อย 2 คน และแจ้งต่อบุคคลเหล่านี้ว่าพินัยกรรมนี้เป็นของตน

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
เจ้าหน้าที่จดข้อความที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งให้พยานที่มาแจ้งลงลายมือชื่อ (ในกรณีไม่อาจลงลายมือชื่อก็ให้พิมพ์ลายนิ้วมือ)

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
ผู้ต้องการทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดได้ เช่น อยู่ในที่อันตราย ฯลฯ

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ต้องการในพินัยกรรมต่อหน้าพยานที่อยู่ตรงหน้าอย่างน้อย 2 คน


#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
พยานทั้งหมดไปที่สำนักงานเขต (กทม.) หรือที่ว่าการอำเภอ (ตจว.) โดยไม่ชักช้า

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
แจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมสั่งไว้ด้วยวาจา พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่ทำพินัยกรรม รวมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย


#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
เจ้าหน้าที่จดข้อความที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งให้พยานที่มาแจ้งลงลายมือชื่อ (ในกรณีไม่อาจลงลายมือชื่อก็ให้พิมพ์ลายนิ้วมือ

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
และให้พยานที่หามาใหม่อย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อรับรอง)

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
แบบที่ 6 พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ
– กรณีคนไทยที่อยู่ต่างประเทศต้องการทำพินัยกรรม
– จะทำตามแบบของกฎหมายประเทศที่ตนอยู่ทำพินัยกรรมก็ได้ หรือจะทำแบบของกฎหมายไทยก็ได้
– หากทำตามแบบกฎหมายไทย ในกรณีพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบเอกสารลับ และพินัยกรรมแบบวาจา ซึ่งสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ก็ให้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นของบุคคลต่อไปนี้แทน
ก. พนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทย
ข. พนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรม เป็นผู้รับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานก็ได้

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
จะทำตามแบบของกฎหมายประเทศที่ตนอยู่ทำพินัยกรรมก็ได้ หรือจะทำแบบของกฎหมายไทยก็ได้

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม
หากทำตามแบบกฎหมายไทย ในกรณีพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบเอกสารลับ และพินัยกรรมแบบวาจา ซึ่งสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ก็ให้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นของบุคคลต่อไปนี้แทน
ก. พนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทย
ข. พนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรม เป็นผู้รับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานก็ได้

#พินัยกรรม #ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #sdg16 #สำนักงานกิจการยุติธรรม