ค้นหา

7 เรื่อง ที่ทำให้คดีอาญามาจบ

คดีอาญาบางคดีๆ จบง่ายในเวลาอันรวดเร็ว แต่บางคดีหลายปีแล้วก็ยังไม่จบ มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้คดีอาญาจบลง

คดีถึงที่สุด หมายความว่า คดีที่ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีนั้นไปแล้ว แต่คู่ความไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือฎีกา คำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ จนพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ หรือฎีกาแล้ว ผลแห่งคดีที่ถึงที่สุดย่อมเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ รวมทั้งในกรณีที่มีการใช้สิทธิอุทธรณ์ และได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แล้ว โดยกฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ผลแห่งคดีที่ถึงที่สุดย่อมต้องเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และในกรณีที่ใช้สิทธิฎีกา และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีนั้น คดีย่อมถึงที่สุดไปตามที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัย

คดีเสร็จเด็ดขาด คือ ศาลตัดสินแล้วว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ (พ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว) ซึ่งไม่ใช้ คดีถึงที่สุด เพราะคู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปได้ เช่น ศาลชั้นต้นตัดสินแล้วแต่อยู่ในระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือฎีกา (30 วัน)

ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ คือ ความผิดที่กระทำแล้วมีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำโดยตรงเท่านั้น ไม่กระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้น ผู้ที่ถูกกระทำไม่ติดใจเอาความหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำ รัฐก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด (ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน หรือฟ้องคดีเองภายในอายุความตามความหนักเบาของโทษในความผิดที่ได้ทำ) เช่น

  • ความผิดเกี่ยวกับเพศ ได้แก่ ข่มขืน ทำอนาจาร ในกรณีที่กระทำต่อบุคคลที่มีอายุมากกว่า 15 ปี, กระทำโดยไม่มีอาวุธ, ไม่มีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ,เหยื่อไม่ได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย กรณีเหล่านี้ยอมความได้
  • บังคับให้ผู้อื่นทำหรือไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง(มาตรา 309) กักขังหน่วงเหนี่ยวให้ปราศจากเสรีภาพ(มาตรา 310) หรือทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยประมาท(มาตรา 311) ยอมความได้เฉพาะกรณีที่ผู้กระทำไม่ใช้อาวุธ หรือผู้ถูกกระทำไม่ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย เท่านั้นนะ ที่ยอมความได้เมื่อใดก็ตามที่เหยื่อได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงตาย ยังไงก็ยอมความไม่ได้ค่ะ จำง่ายๆ
  • ความผิดฐานเปิดเผยความลับ (มาตรา 322-325)
  • ความผิดฐานหมิ่นประมาท
  • ความผิดฐานฉ้อโกง เว้นแต่ฉ้อโกงประชาชน
  • ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
  • ความผิดฐานยักยอก
  • ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เฉพาะกรณีทำต่อทรัพย์ของเอกชน(คือของประชาชนทั่วๆไป) หรือทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นสาธารณสมบัติ
  • ความผิดฐานบุกรุก เฉพาะกรณีบุกรุกตอนกลางวัน บุกรุกคนเดียว บุกรุกโดยไม่มีอาวุธ หรือไม่มีการประทุษร้ายหรือขู่ว่าจะประทุษร้าย

หมายเหตุ : ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญานอกจากที่กล่าวมานี้ เป็นความผิดต่อแผ่นดิน

ความผิดอาญาแผ่นดิน หรือคดีที่ยอมความไม่ได้ คือ ความผิดที่กระทำแล้วมีผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำโดยตรงและมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นรัฐจึงต้องดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แม้ผู้ถูกกระทำนั้นจะไม่ติดใจเอาความหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดหรือผู้เสียหายไม่แจ้งความร้องทุกข์ก็ตาม เช่น ฆ่าคนตาย

ที่มา : ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา (มาตรา 39)