ค้นหา

รีดเอาทรัพย์

#รีดเอาทรัพย์ #Blackmail #ขู่เปิดเผยความลับ

#ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ มาตรา 338 เป็นการขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าทำอันตรายต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง เสรีภาพ แต่เป็นการขู่เข็ญ “ว่าจะเปิดเผยความลับ” และเมื่อเปิดเผยแล้วก็ไม่คำนึงว่าจะเสียหายต่ออะไร

ความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ มีองค์ประกอบความผิดเหมือนกับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แตกต่างกันเพียงขู่เข็ญว่าจะ #เปิดเผยความลับ (Disclose the secret) ไม่ได้เป็นการขู่เข็ญในเรื่องทั่วๆ ไป

ความลับ (Secret) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ไม่ประจักษ์(ปรากฏชัด) แก่คนทั่วไป และ “เจ้าของความลับปต้องการจะปกปิด”หรือ “ให้รู้ในวงจำกัด” เพราะฉะนั้นสิ่งไหนจะเป็นความลับหรือไม่ต้องพิจารณาตัวบุคคลเป็นสำคัญ เช่น การมีภริยาน้อย การเป็นหญิงขายบริการ การหลบเลี่ยงภาษี ฯ

#การเปิดเผยความลับ จะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย และผู้กระทำ ได้ทำไปโดย “ต้องการจะได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน” เช่น……

จำเลยได้ข่มขู่โจทก์ว่าจะเปิดเผยความลับทางการค้าต่อพ่อค้าและท้องตลาดกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการหลบเลี่ยงภาษีของห้างหุ้นส่วนอันจะทำให้ห้างดังกล่าวซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับความเสียหายจนโจทก์ยอมจะให้เงินแก่จำเลยตามที่ขู่เข็ญนั้น จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337, 338 ความผิดฐานกรรโชกและฐานรีดเอาทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28

คำพิพากษาฎีกาที่ 1945/2514 (https://deka.in.th/view-32955.html)

#กฎหมายน่ารู้#ความลับ#ขู่เอาเงิน#รีดเอาทรัพย์#ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์#คดีอาญา#ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย#รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น#กระทรวงยุติธรรม