ค้นหา

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการถูกละเมิด !!!

กฎหมายน่ารู้ 84 : การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการถูกละเมิด !!!

#ละเมิด เป็นการกระทำโดย #จงใจ หรือ #ประมาทเลินเล่อ ต่อบุคคลภายนอกโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้ (ผู้ถูกกระทำ) ได้รับเสียหายแก่ #ชีวิต#ร่างกาย#อนามัย#เสรีภาพ#ทรัพย์สิน หรือ #สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด

กฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น (ป.พ.พ.ม. 420) การกระทำจะเป็นละเมิดต้องประกอบด้วยหลัก 3 ประการ

1. กระทำต่อบุคคลอื่นโดย #ผิดกฎหมาย ซึ่งหมายถึงการประทุษกรรม กระทำต่อบุคคลโดยผิดกฎหมายด้วยอาการฝ่าฝืนต่อความหมายที่ห้ามไว้หรือละเว้นไม่กระทำ ในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำหรือตนมีหน้าที่ ตามกฎหมายจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นต้นว่า ฆ่าเขาตาย, ทำร้ายร่างกายเขา,ขับรถโดยประมาทชนคนตายและทรัพย์สินของเขาเสียหาย ฯลฯ

2. กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ คือ ทำโดยรู้สำนึกและในขณะเดียวกันก็รู้ว่าจะทำให้เขาเสียหาย เช่น เจตนาฆ่าหรือเจตนาทำร้าย ฯลฯ อย่างไรก็ดี การกระทำโดยจงใจในเรื่องละเมิดถือหลักเบาบางกว่าทางอาญาสำหรับอาญานั้นต้องกระทำโดยรู้สึกสำนึกในการที่ทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลด้วยส่วนจงใจในเรื่องละเมิดบางกรณีไม่ผิดในทางอาญาแต่เป็นละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เขา.คำว่าประมาทเลินเล่อในทางแพ่งหมายความถึงการกระทำที่ขาดความระมัดระวังจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นและหมายความถึงการไม่ป้องกันผลที่เกิดขึ้นโดยประมาทเลินเล่อแม้ตนเองไม่ได้กระทำให้เกิดผลนั้นขึ้นระดับความระมัดระวังของบุคคลต้องถือระดับบุคคลธรรมดา

3. ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย โดยปกติผู้กระทำต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตนแต่อย่างไรก็ดีในเรื่องละเมิดถ้าได้มีการกระทำละเมิดร่วมกันหรือแม้มิได้ร่วมแต่เป็นผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิดดังนี้บุคคลเหล่านี้จะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้น

#ค่าสินไหมทดแทน เกิดจากการละเมิดที่ได้รับความเสียหาย ที่พึงได้รับนั้นถ้า #ตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องดำเนินการ #ฟ้องร้องต่อศาล และศาลจะกำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยจะวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด

ปกติค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การคืนทรัพย์สินที่ผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะการละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สิน รวมทั้งค่าเสียหายพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ ที่ได้ก่อขึ้นด้วย

สิทธิประโยชน์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เพื่อเยียวยาความเสียหายจากการถูกทำละเมิดมีรายละเอียดอะไรบ้าง ติดตามกันได้เลยครับ

5 สิทธิประโยชน์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เยียวยาความเสียหายจากการถูกละเมิดได้
“ถูกละเมิด 6 อย่างนี้”
เรียกร้องสินไหมทดแทนได้
1.เสียชีวิต
2.ร่างกาย/อนามัย
3.เสรีภาพ
4.ชื่อเสียง
5.ทรัพย์
6.สิทธิอื่น ๆ
“การชดใช้ความเสียหายแก่ทรัพย์สิน”
1.คืนทรัพย์สินที่เสียหายไป
2.ใช้ราคาแทนการคืนทรัพย์สิน
“เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้กี่วิธี?”
1.คืนทรัพย์สินที่เสียหาย
2.ใช้ราคาแทนการคืนทรัพย์สิน
*กรณีทรัพย์สินเสื่อมค่า บุบสลาย เสียหาย จนคืนไม่ได้*
3.ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน
“การชดใช้ความเสียหายแก่ชีวิต”
1.ทายาทจะได้รับ
-ค่าปลงศพ
-ค่าใช้จ่ายจำเป็นเพื่อการปลงศพ
-ค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิต
2.พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และ ลูกบุญธรรมหรือผู้รับลูกบุญธรรมจะได้รับ
-ค่าขาดการไร้การอุปการะ
3 พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และ นายจ้างจะได้รับ
-ค่าชดใช้ขาดแรงงาน
(ครัวเรือน/อุตสาหกรรม)
“การชดใช้ค่าเสียหายแก่ร่างกายอนามัย”
**ผู้เสียหายเท่านั้นที่เรียกร้องได้**
1.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ระหว่างเจ็บป่วย
2.ค่าเสียความสามารถประกอบการงาน
3.ค่าชดใช้ขาดแรงงาน
4.ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป
เช่น ค่ารักษา – ค่าเดินทาง – ค่าจ้างเฝ้าไข้ – ค่าจ้างเลี้ยงลูก
5.ค่าความเสียอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน
เช่น พิการ – อับอาย – เสียโฉม – เสียอวัยวะสืบพันธุ์/เสียสุขภาพจิต
“การชดใช้ความเสียหายแก่สิทธิและเสรีภาพ”
1.ชดใช้ค่าขาดแรงงาน
1.1 ขาดแรงงานในครัวเรือน
พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก (ตามกฎหมาย) หรือ ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ได้
1.2 ขาดแรงในอุตสาหกรรม
นายจ้าง(ตามสัญญาจ้าง) มีสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ได้
2.ค่าเสียหายอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน
“การชดใช้ค่าเสียหายแก่ชื่อเสียง”
*ผู้เสียหายต้องแจ้งขอไว้ในคำฟ้อง*
-ชดใช้ค่าเสียหาย
-จัดการใช้ชื่อเสียงกลับมาดีดังเดิม
-หรือทั้ง 2 อย่าง
ค่าสินไหมทดแทนจะชดใช้ด้วยวิธีไหน/เท่าไหร่
“ศาลจะใช้ดุลพินิจวินิจฉัย”

หลักการใช้ดุลพินิจของศาล
-พฤติการณ์ข้อเท็จจริงในคดี
-ความร้ายแรงของการละเมิด
-ประเภทของสินไหมทดแทนที่กฎหมายกำหนดไว้

*ศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนไม่เกินกว่าที่โจทก์ร้องในคำฟ้อง*

#กฎหมายน่ารู้#คดีแพ่ง#ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย#รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น#สำนักงานกิจการยุติธรรม#กระทรวงยุติธรรม

ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420-448