ค้นหา

แว้น-สก็อย สนามไม่สน หลังถนนอย่างเดียว

แว้น-สก็อย สนามไม่สน หลังถนนอย่างเดียวทำไมต้องแว้น

เป็นคำถามที่ทุกคนน่าจะรู้ดี แต่จะมีใครลุกขึ้นนั่งอธิบายถึงสาเหตุและความเป็นมาที่แท้จริงในแง่มุมเชิงวิชาการ และร่วมหามาตรการในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาเหล่านี้แน่นอนว่ารากเหง้าของปัญหาคงไม่ใช่แค่…การกล่าวโทษครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ยาเสพติด ฯลฯ แต่สังคมพร้อมที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกันอย่างจริงจังอย่างไรต่างหาก?

ปัญหาการแข่งรถบนนถนนสาธารณะหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “เด็กแว้น” เป็นปัญหาที่อยู่กับสังคมไทยมายาวนาน ซึ่งจากสถิติเมื่อปี 2559 มีการจับกุมเด็กแว้นในฐานการฝ่าฝืน คำสั่ง คสช. ที่ 22/2558 (เกี่ยวกับปัญหาการควบคุมเด็กแว้นและสถานบันเทิง) ได้เด็กแว้นที่ฝ่าฝืนคำสั่งถึง 710 ราย ยึดจักรยานยนต์ได้ 681 คัน เอาผิดกับผู้ปกครองอีกถึง 72 ราย นั่นทำให้เห็นว่าปัญหาแว้นยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยอยู่เสมอ แล้วอะไรหละคือสาเหตุของการแว้น ??

จากผลการวิจัยเรื่อง “โครงการศึกษามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กแว้น: ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่การกระทำผิดซ้ำซาก” ระบุว่าสาเหตุของการแว้นเกิดจาก

1. เป็นความคึกคะนองตามช่วงวัยของเด็กแว้น

2. เป็นกลุ่มที่มีรถจักรยานยนต์อยู่เดิม แล้วมีเพื่อนชักชวนให้แว้น

3. ต้องการการยอมรับจากสังคม 4. มีอุปนิสัยที่ชอบความท้ายทาย

5. เป็นคนที่ชอบความอยู่แล้วเป็นต้นทุนเดิม

นอกจากนั้นการศึกษาชิ้นนี้ ยังเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาแว้นในเชิงนโยบาย โดยผ่านการเก็บข้อมูลจากผู้บังคับใช้กฎหมาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชาชนทั่วไป และเด็กแว้น โดยสรุปข้อเสนอแนะได้ ดังนี้

1. ครอบครัวต้องแข็งแรง สังคมต้องเปิดใจเพื่อเข้าใจปัญหาจากในมุมมองของเด็กแว้น และเปิดพื้นที่ในสังคมให้เด็กแว้นแสดงออก

2. มาตรการป้องกันสำคัญกว่าการแก้ไขปัญหา

3. การป้องกรามได้ผลกว่าการไล่ล่าจับกุม

4. กำหนดบทลงโทษเป็นลำดับจากน้อยไปมา ตักเตือน เข้าโปรแกรมบำบัด ยึดรัถและใบขับขี่ จำคุก-ปรับเงิน และเอาผิดผู้ปกครองตามลำดับ

5. ขยายเวลา ขยายกำลังคน และขยายเนื้อหาในการบำบัดฟื้นฟู

ที่มา : โครงการศึกษามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเด็กแว้น : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่การกระทำผิดซ้ำซาก

สามารถดาวน์โหลดเอกสารวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ : งานวิจัย เรื่อง โครงการศึกษามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเด็กแว้น : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่การกระทำผิดซ้ำซาก โดย ดร.ธีระ สินเดชารักษ์,อาจารย์อรอุมา เตพละกุล,ดร.จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล งานวิจัยเรื่อง โครงการศึกษามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเด็กแว้น : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่การกระทำผิดซ้ำซาก