ค้นหา

ข่าวดัง สืบจากเน็ตบน สื่อสารธารณะ #ใครฆ่าหนู..? (ตอนที่ 2)

เรากำลังพูดถึง #ข่าวดัง เกรียวกราวอยู่ในช่วงนี้.. ที่เด็กน้อยหายตัวไป พบเป็นศพบนภูเขา.. #ตำรวจสืบสวน สอบปากคำและตรวจดีเอ็นเอของบุคคลไปเป็นร้อย เกือบทั้งหมู่บ้านแล้ว.. แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ ว่าสาเหตุการตายคืออะไร และใครคือ #ผู้ต้องสงสัย.. • ส่วนสื่อเอง แม้จะยืนยันว่าต้องรอ #ข้อเท็จจริง จากตำรวจก่อน… แต่ก็ #ทำข่าว ตั้งประเด็นในคดีแตกออกไปมากมาย รวมทั้ง ชี้ตัวผู้ต้องสงสัยหลายคน..และให้ข้อมูลชี้นำกับสังคม ทำให้สังคมเกิดความสงสัยตามไปด้วยว่า.. สาเหตุที่น้องเสียชีวิตเพราะถูกฆ่าตาย..

• ส่วนผู้ต้องสงสัยก็ คือ คุณลุงที่สนิทกับเด็ก.. และพ่อแม่ของเด็กเอง.. ทำให้สังคมบางส่วนเริ่ม #ประนาม ทั้งสองฝ่ายให้ได้รับความเสียหาย.. ทั้งที่ยังไม่การสรุปข้อเท็จจริงจากพนักงานสอบสวนเลย..

• โดยหลักการแล้ว ต้องรอ #ศาลพิพากษา ก่อน.. ส่วนสังคมจะติชมอย่างไรตามวิสัย ก็เป็นเรื่องของเขา.. ที่น่าสงสาร.. นอกจากผู้ต้องสงสัยที่เป็นญาติกันเองแล้ว.. #สื่อยังสืบ หาข้อมูลใหม่ที่เกี่ยวกับ #พี่สาว ของน้อง.. จนสังคมเริ่มสงสัยพี่สาวของน้องที่อยู่กับน้องก่อนหายตัวไปอีกด้วย..

#พี่สาว ของน้องยังเป็น #เด็ก นะครับ.. อายุเพียง 13 ปีเอง..แต่ต้องมาตอบ #คำซักถามของสื่อ.. ทั้งที่ยังไม่ชัดเจนว่า ใครคือคนร้าย.. • #สื่อมวลชน ส่วนใหญ่ปิดบังใบหน้าน้องให้เห็นไม่ชัด แต่ไปทำข่าวสอบถาม ติดตาม.. ทั้งถ่ายภาพนิ่ง และคลิปภาพเคลื่อนไหว..

• โดยไม่สนใจว่า.. #กฎหมาย จะห้ามไว้หรือไม่..

• ระบุชื่อเล่น แต่สังคมก็ทราบว่า เป็นลูกใคร นามสกุลอะไร.. มีที่อยู่ชัดเจน ตามตัวได้ไม่ยาก..

• โดยไม่คำนึงว่า คำถามต่างๆจะมีผลต่อความรู้สึกของพี่สาวอย่างไร.. ไม่สนใจว่า รูปภาพที่ปรากฎ และความเห็นของสังคมที่โพสต์ลงไป.. จะอยู่ในสื่อโซเชี่ยลอีกนานแค่ไหน.. และจะมีผลกระทบต่อจิตใจและอนาคตของน้องต่อไปอย่างไร.. • พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เขาเขียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ #คุ้มครองเด็ก ไว้ว่า..

• “ห้ามผู้ใด.. เผยแพร่ออก #สื่อสาธารณะ.. หรือโฆษณา.. ชื่อ นามสกุล หรือข้อมูลใดๆเกี่ยวกับตัวเด็ก.. • โดยเจตนาที่จะทำให้เกิด.. หรือในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จิตใจ.. ชื่อเสียง.. หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก..” (มาตรา 27 และมาตรา 50) • คำว่า #ห้ามผู้ใด นี่.. คือ #ห้ามสื่อมวลชน มิให้ออกข่าวที่เปิดเผยข้อมูล.. และ #ห้ามประชาชน ในการ #โพสต์ หรือ #ส่งต่อ ข้อมูลที่กฎหมายห้ามเหล่านั้นด้วยนะครับ..

• คำว่า #โดยเจตนา นั้น หมายถึง ไม่ได้อยากให้เกิดความเสียหายขึ้น.. แต่ขณะทำนั้นก็รู้อยู่แก่ใจว่า จะเกิดความเสียหายแก่เด็กนั้นแน่ๆ.. แบบนี้ ถือว่าเจตนาแล้ว.. และ

• คำว่า “ในลักษณะที่ #น่าจะเกิดความเสียหาย” นี่ หมายความว่า แม้ความเสียหายยังไม่เกิด แต่น่าจะเกิด .. เพียงแค่นี้ผู้ฝ่าฝืน ก็ #มีความผิด แล้ว.. • การฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546.. มีโทษทาง #อาญา ตามมาตรา 79 ครับ.. #จำคุก ไม่เกิน 6 เดือน #ปรับ ไม่เกิน 60,000 บาท.. • ส่วนหน่วยงานไหน หรือใครมีหน้าที่รับผิดชอบ.. ดูแลสังคมให้เป็นไปกฎหมายฉบับนี้.. รบกวนเปิดดูตัวบทกันเองนะครับ.. เพราะข้อเขียนนี้ต้องการเผยแพร่หลักการของกฎหมายเท่านั้น.. ไม่ได้พูดถึงการบังคับใช้กฎหมาย.. • อ่อ.. อ่านจบแล้ว.. ช่วยตอบผมด้วยนะครับว่า.. “ใครฆ่าหนู..?”

ที่มา : ขอขอบคุณ ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์ ที่ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และอนุญาตให้สำนักงานกิจการยุติธรรมได้เผยแพร่ให้ประชาชนได้ความรู้ต่อไปครับ#บทความ#กฎหมาย #กฎหมายน่ารู้ #พยานหลักฐาน #น้องชมพู่ #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #สื่อ #ข่าวน้องชมพู่ #สถานีโทรทัศน์ #กสทช #คดีน้องชมพ่ #คดีอาญา #สำนักงานกิจการยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น