ค้นหา

เส้นทาง สู่ความรัก อย่างเท่าเทียม : ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. ….

ไม่มีมนุษย์คนใดเหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ความหลากหลายถูกสร้างขึ้นเพื่อเติมสีสันให้กับโลก เมื่อความรัก ความสัมพันธ์ เกิดขึ้น….ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศ การเปิดกว้างและการยอมรับความหลากหลายทางเพศไม่ได้มีแค่ในกรอบของ หญิง-ชาย

ชีวิตคู่ : คู่ชีวิต คำนิยาม ความสัมพันธ์ระหว่าง คน 2 คน ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนสองเพศ? การตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ไม่ได้จำกัดเพศ หากแต่เป็นการตกลงปลงใจร่วมกัน แต่ในการรองรับความสัมพันธ์ ถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลให้ได้รับสิทธิที่ไม่เท่าเทียมกัน

เช่น ไม่สามารถจัดการทรัพย์สินที่สร้างร่วมกัน ไม่สามารถเป็นทายาทโดยชอบธรรม ไม่สามารถรับมรดกได้ ไม่สามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ รวมถึงไม่สามารถตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลของอีกฝ่ายได้ ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในการรองรับสิทธิและหน้าที่ในการก่อตั้งครอบครัว ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญและต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล

ความรัก จึงไม่ใช่แค่ของคน 2 คน อีกต่อไป หากแต่เป็นเรื่องของ “ความยุติธรรม” ด้วย อย่างไรก็ตามการพัฒนาไปสู่การสมรสที่เท่าเทียม ต้องเริ่มจากการจดทะเบียน “คู่ชีวิต” ก่อน ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. …. เป็นจุดเริ่มต้นของ ที่จะนำไปสู่ความเท่าเทียมของความรักที่ปราศจาก “ข้อจำกัดทางเพศ”

สิทธิที่จะได้รับตาม พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. ….

  1. สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว
  2. สิทธิในการอุปการะเลี้ยงซึ่งกันและกัน
  3. สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
  4. สิทธิในการให้และรับมรดก
  5. สิทธิในรับบุตรบุญธรรมร่วม
  6. สิทธิในการจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
  7. สิทธิในการดำเนินคดีต่างผู้ตายในคดีอาญา
  8. สิทธิในการเลิกเป็นคู่ชีวิตโดยความยินยอม
  9. สิทธิในการฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต ตามหลักเกณฑ์และเหตุเช่นเดียวกับการฟ้องหย่า
  10. สิทธิอื่นๆ เฉกเช่น คู่สมรส ต่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ที่มา : บทความเรื่อง ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. …. โดย ฉัตราภรณ์ ดิษฐศรีพร นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (วารสารยุติธรรม ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 ประจำปี 2563 หน้าที่ 25-28)

#love #Gender #LGBTQ